รู้จัก ‘PTSD’ ภาวะเครียดซึมเศร้าหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง

การสูญเสียครั้งสำคัญ เจอเหตุการณ์ร้ายแรง สะเทือนใจ ⚠ เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิด PTSD (Post–Traumatic Stress Disorder) หรือ โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ภัยพิบัติ สงคราม เหตุจลาจล การฆาตกรรม ปล้นฆ่า ข่มขืน ซึ่งผู้ที่เผชิญกับเหตุการณ์เหล่านั้น และรอดชีวิตมาได้ หรือผู้ที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์ ทำให้เกิดความเครียดทางด้านจิตใจ ชนิดรุนแรงมากจนถึงขั้นทุกข์ทรมาน

เช่นจากเหตุการณ์ #กราดยิง ที่เกิดขึ้น มีผู้ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง และต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป ซึ่งคนรอบข้างควรสังเกตและใส่ใจว่าเสี่ยงต่อภาวะ PTSD หรือไม่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการ…

💥 เห็นภาพเหตุการณ์นั้นย้ำๆ ซ้ำๆ คิดวนเวียน เห็นภาพหลอน ฝันร้าย เกิดการวิตกกังวลอย่างรุนแรง

💥 เกิดอาการ flash back รู้สึกว่าตนเองอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ เกิดความตื่นกลัว ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออก

💥 มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกไม่มีความสุข หม่นหมอง ไม่มีความสนใจหรือชอบในกิจกรรมที่เคยทำ และอาจร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย

💥 กลัวและพยายามหลีกเลี่ยง ผู้ป่วยจะไม่กล้าเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่เคยประสบมา และหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น

อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย ได้แก่ ความโศกเศร้าเสียใจจากการสูญเสีย (Grief reaction) เกิดจากการสูญเสียคนรักหรือทรัพย์สิน หมดหวัง ท้อแท้ รู้สึกไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ใดๆ ได้ ภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย (Depression and suicide)


ผู้ที่ได้รับผลกระทบต่างก็พยายามที่จะลืมหรือหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานจากเหตุการณ์นั้น แต่เป็นเรื่องยากที่จะลืมเลือน เพราะในผู้ป่วยบางคนอาจถึงขั้นเสียศูนย์ การหวนคิดถึงเหตุการณ์ซ้ำๆ อาจเกิดต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในสัปดาห์แรก หรือเริ่มเกิดภายหลัง โดยอาจมีอาการแสดงหลายอย่าง ได้แก่ อารมณ์ไม่สดชื่นร่าเริง เบื่อหน่าย ท้อแท้ ขาดความสุข เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนไม่หลับ สมาธิสั้น วอกแวกง่าย ความจำเสีย หมดแรง เหนื่อยหน่าย คิดว่าตนเองเป็นภาระให้ผู้อื่นลำบาก รู้สึกผิดที่ตนเองรอดชีวิตหรือไม่สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ คิดว่าตนเองไร้ค่า อาการซึมเศร้าอาจรุนแรงมากจนคิดว่าตนเองผิด เบื่อชีวิต คิดอยากตาย หรือคิดฆ่าตัวตายได้ในที่สุด

❌ไม่ส่งต่อ ไม่โพสต์ภาพ วิดีโอ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูญเสีย และผู้เกี่ยวข้อง❌

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยเยียวยาผู้ที่มีภาวะ PTSD ได้ดีที่สุด คือ คนรอบข้าง คนใกล้ชิด จะต้องให้การดูแลเอาใจใส่ เปิดใจรับฟังความรู้สึก โดยไม่แสดงหรือโต้เถียงถึงความถูกผิดแต่อย่างใด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยระบายความเครียด หรือสิ่งที่อยู่ในใจออกมา หลังจากนั้นจึงมาวางแผนหาวิธีแก้ไขและรักษากันต่อไป ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ระวัง!! ผลกระทบทางใจ จากเหตุสงครามก่อการร้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า