เครียดสะสม ภาวะอันตรายทำลายสุขภาพ

ความเครียด (Stress) เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกเพศทุกวัย ปัจจุบันนี้พบว่า คนส่วนใหญ่มักมีอาการเครียดสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังในชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง  ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน  ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต

สัญญาณของอาการเครียดสะสม

เมื่อเรามีภาวะเครียดมาก ๆ จะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลงเรื่อย ๆ ผู้ที่เริ่มสงสัยว่าตนเองมีอาการเครียดสะสมหรือไม่ สามารถสังเกตตนเองได้จากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้

  • พฤติกรรมการนอนที่เปลี่ยนไป เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็วเกินไป หรือ ชอบตื่นกลางดึก
  • พฤติกรรมทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล และหน้าตาเศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง
  • อาการเครียดที่แสดงออกทางกาย เช่น  หายใจถี่ขึ้น หรือ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว บางรายมีอาหารปวดหัวร่วม
  • ผู้ที่มีความเครียดสะสมมาก ๆ อาจมีอาการเครียดจนอยากตาย

ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อรู้สึกเครียด?

จัดการความเครียดด้วยตัวคุณเอง คำแนะนำในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเครียดสะสม

  • พยายามมองโลกในแง่บวก วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแก้ปัญหาที่ต้นเหตุนั้น ๆ
  • จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวใหม่ เช่น การจัดบ้านใหม่ หรือ โต๊ะทำงาน เพื่อลดอาการเบื่อหน่าย หรือ ความจำเจ
  • บำบัดตัวเองง่าย ๆ ด้วยสิ่งที่ตนเองชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดภาพ ออกกำลังกาย
  • ออกไปหาสถานที่ผ่อนคลาย เช่น ไปเที่ยวทะเล ไปเดินห้างสรรพสินค้า หรือ ไปสวนสาธารณะ
  • พบปะเพื่อนฝูงหรือใช้เวลากับครอบครัว การที่เราสามารถพูดคุย หรือ ปรึกษาปัญหาที่เรากำลังเผชิญนั้น สามารถลดความเครียด ความกดดันในชีวิตได้


การรักษาอาการเครียดสะสม

ความเครียดสะสมเป็นภาวะที่สร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ การไปพบจิตแพทย์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่หาทางออกจากภาวะเครียดสะสมไม่ได้  หลายคนมักเข้าใจว่าการไปพบจิตแพทย์ คือ เรามีภาวะจิตไม่ปกติ แต่ในความจริงแล้ว การไปพบจิตแพทย์เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ช่วยให้เราบรรเทาอาการเครียดสะสม  ซึ่งจิตแพทย์จะให้คำปรึกษาและบำบัดให้เราอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธีนั่นเอง

เมื่อไรที่ควรปรึกษาแพทย์?

หากคุณรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ได้ หรือมีความเครียดสะสมต่อเนื่อง เป็นระยะเวลนานจนไม่มีความสุข และมีอาการที่มีผลต่อชีวิตประจำวัน พบอาการทางกาย อาการทางอารมณ์ ควรปรึกษาพบแพทย์

ยิ่งเครียด ยิ่งเสี่ยงโรค

ภาวะเครียดสะสมส่งผลร้ายต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา โรคที่เกิดจากภาวะเครียดสะสม เช่น


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า