ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) อารมณ์สองขั้ว ที่ต้องทำความเข้าใจ

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือที่เรามักเรียกกันทั่วไปว่า “ไบโพลาร์” (Bipolar Disorder) สาเหตุสำคัญเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง หรืออาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเครียด สารเสพติด การเลี้ยงดู เป็นต้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า สลับอารมณ์ดีผิดปกติ ราวกับเป็นคนละคน ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 1 สัปดาห์

เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อาการสงสัยเป็น “ไบโพลาร์”

โรคไบโพลาร์ จะมีอาการพื้นฐานอยู่ทั้งหมด 4 อาการด้วยกัน ซึ่งอาการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนทั้งทางด้านอารมณ์และร่างกาย โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนทางอารมณ์ เรี่ยวแรง และความคล่องตัว รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงานอีกด้วย

ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะเกิดการแบ่งอารมณ์เป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจน ได้แก่ ขั้วอารมณ์คึกคัก (Mania) หรืออารมณ์ดีผิดปกติ และขั้วซึมเศร้า (Depress) โดยระยะเวลาในการแสดงอาการของแต่ละขั้วอาจยาวนานหลายวัน หรืออาจยาวนานหลายสัปดาห์

อารมณ์ของผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ บางคนอาจมีอารมณ์คึกคักก่อน แล้วจึงมีอาการแบบซึมเศร้าขึ้นมา หรืออาจะสลับกับอาการปกติต่อเนื่องกันไป

อารมณ์ดีผิดปกติ

  • คึกคัก มีกำลังวังชา
  • ไม่ยอมหลับ
  • พูดมาก
  • หงุดหงิดง่าย
  • เชื่อมั่นในตัวเองสูง
  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • มีอารมณ์ทางเพศสูง

อารมณ์เศร้าผิดปกติ

  • เศร้า หดหู่
  • ไม่อยากพบใคร
  • ไม่อยากทำอะไร
  • คิดช้า ไม่มีสมาธิ
  • คิดลบ
  • คิดฆ่าตัวตาย

ไบโพลาร์รักษาได้

ในปัจจุบัน โรคไบโพล่าห์สามารถรักษาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ 100% แต่ผุ้ป่วยไบโพลาร์ที่รับการรักษา สามารถกลับมาใช้ชีวิต ทำกิจวัตรประจำวัน ทำงาน ได้เหมือนกับคนทั่วไป โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น

  • การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองของผู้ป่วยกลับสู่สภาวะปกติ
  • การบำบัดทางด้านสังคมจิตใจ รับการปรึกษาและการทำจิตบำบัด
  • คนรอบข้างช่วยกันดูแล และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรับการรักษา

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไบโพลาร์ที่เข้ารับการรักษา จะต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันคนรอบข้างก็ต้องทำความเข้าใจและให้การดูแลอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ เพราะโรคไบโพลาร์สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80-90 โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นได้แก่ เหตุการณ์สะเทือนใจ เหตุการณ์พลิกผันในชีวิต ภาวะเครียด และ การใช้สารเสพติด


สัญญาณเตือน! คุณอาจเข้าข่ายเสี่ยงเป็นไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ได้ให้คำแนะนำถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นไบโพลาร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

  • มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ
  • มีอาการต่างๆ ของโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนของโรคไบโพลาร์
  • พูดเร็ว
  • หงุดหงิดง่ายในบางกรณี
  • ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ ไม่คิดหน้าคิดหลัง

ขอบคุณข้อมูลจาก: รศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า