โรคเครียด เครียดแค่ไหน? โรคเครียด เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่าง เมื่อเราประสบกับความเครียดสมองจะปล่อยฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ระดับความเครียดและฮอร์โมนความครียดแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับความเครียดเฉียบพลัน (Acute stress) คือ ความเครียดที่เกิดจากความกดดันในบางสถานการณ์ อาการที่สังเกตได้ เช่น หัวใจเต้นแรง ฝ่ามือเหงื่อออก รู้สึกมีพลังงานพลุ่งพล่าน
ระดับฮอร์โมนความเครียดปกติ ระดับเพิ่มขึ้นเมื่อจำเป็นและกลับสู่ปกติเมื่อความเครียดหายไป ร่างกายก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
ความเครียดเกิดขึ้นหลายครั้งติดต่อกัน (Episodic) คือ การประสบกับความเครียดหลายครั้งติดต่อกัน อาการที่สังเกตได้ เช่น เหนื่อยล้า เครียด วิตกกังวล กดดันในการทำงาน เริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพ รีบเร่งใจร้อนเป็นประจำ
ระดับฮอร์โมนความเครียดที่ผิดปกติ อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีความเครียดเรื้อรังและสามารถนำไปสู่การพัฒนาหรือการกำเริบของปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคซึมเศร้า และโรควิตกกังวล
ความเครียดเรื้อรังเป็นระยะยาว (Chronic stress) คือ ความกังวลและกดดันสะสมอย่างต่อเนื่องจนเป็นความเครียดเรื้อรังที่เกินจะรับมือ อาการที่สังเกตได้ เช่น นอนไม่หลับ ปรับตัวไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน ส่งผลกระทบในชีวิตประจำวัน
ระดับฮอร์โมนความเครียดที่เป็นอันตราย มักเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจและสถานการณ์ที่รบกวนชีวิตประจำวัน ร่างกายถูกกดดันจนถึงขีดจำกัด ณ จุดนี้ร่างกายอาจเริ่มหยุดการทำงาน และมีแนวโน้มปัญหาสุขภาพ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง
หากคุณรู้สึกว่าตนเองมีความเครียดยาวนานกว่า 6 เดือน แนะนำควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและรักษาที่ถูกต้อง
