ระวัง! เครียดมาก เสี่ยงเป็นหลายโรค

โรคความดันโลหิตสูง
คนที่อยู่ในภาวะเครียด มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า

โรคหัวใจ
ความเครียดมีผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา รวมถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีโอกาสหัวใจวายได้สูง

โรคเครียดลงกระเพาะ
หากมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ร่างกายจะหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน



โรคนอนไม่หลับ
ความเครียดทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลายๆ ชนิด ซึ่งมีผลกระทบต่อการนอนหลับ หรือหากนอนหลับก็หลับไม่สนิท ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิดและเจ็บป่วยง่าย

โรคไมเกรน
ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป จะทำให้หลอดเลือดเกิดการพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

โรคออฟฟิศซินโดรม
เกิดจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และกล้ามเนื้ออักเสบได้

โรคอ้วน
นั่งทำงานนาน ๆ ติดต่อกันวันละหลาย ๆ ชั่วโมง ทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารได้น้อยลง และอาจทำให้มีโรคอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ 

โรคกรดไหลย้อน
เนื่องจากทำงานหนัก ทำให้ทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานอย่างเร่งรีบ รวมไปถึงการชอบทานเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของมัน ของทอด หรือน้ำอัดลม ล้วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้

ความเครียดส่งผลร้ายต่อร่างกาย ควรลองหากิจกรรมที่ช่วยเติมความสุขให้กับตัวเอง เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหาร อร่อยๆ ออกไปเที่ยวบ้าง หรือสังสรรค์กับเพื่อน เพราะร่างกายจะหลั่งสารความสุขออกมาทำให้ความเครียดลดลงได้


เครียดได้แต่อย่านาน…เดี๋ยวเป็นโรคซึมเศร้านะ!

ความเครียด เป็นภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบคั้นกดดัน

เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงแล้ว ภาวะความเครียดอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ส่งผลให้มีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก

ทุกคนต้องเจอกับภาวะความเครียดอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับมือและจัดการความเครียดนี้ได้อย่างไร?


ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า