โรคเพลียแดด (Heat Exhausion) ภัยจากอากาศร้อนที่ต้องระวัง!

ภาวะเพลียแดด เป็นอาการที่เกิดร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง กระสับกระส่าย คลื่นไส้ อาเจียน

อาการเพลียแดด เป็นสัญญาณเตือนที่ต้องระวัง เพราะหากปฐมพยาบาลไม่ถูกวิธี สามารถเปลี่ยนเป็น โรคลมแดด หรือ Heat stroke ได้ ซึ่งอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต โดยปกติแล้วร่างกายคนเรามีอุณหภูมิ ประมาณ 36 – 37 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศร้อนมากจนร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ไม่ถึง 40 องศาเซลเซียส อาจเกิดอาการเพลียแดดได้ และถ้าสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับเริ่มมีอาการทางสมอง เช่น ซึม สับสน ชักเกร็งหรือหมดสติ เรียกว่าโรคลมแดด

แดดจัด อากาศร้อน คนทำงานกลางแจ้งต้องระวัง!

โรคเพลียแดด (Heat Exhausion) และโรคลมแดด (Heat stroke) นี้ เกิดได้กับทุกคนที่ถูกแดดจัดหรืออยู่ในที่ๆ ร้อนจัดเป็นเวลานาน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ง่ายขึ้น ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เกษตรกร ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ควรจะต้องระมัดระวังการเกิดภาวะอันตรายจากแดดและอากาศร้อนจัด 

นอกจากโรคเพลียแดด และโรคลมแดดแล้ว ด้วยอุณหภูมิของอากาศที่ร้อนมาก เรายังต้องระวังภาวะโรคจากแดด ได้แก่ โรคตะคริวแดด (Heat Cramps) และผิวหนังไหม้แดด (Sunburn) โดยโรคดังกล่าวล้วนเกิดจากการได้รับความร้อนมากจนเกินไป ประกอบกับเกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งแต่ละโรคจะเกิดในภาวะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และการอยู่ท่ามกลางแสงแดดนานแค่ไหน แต่ภาวะที่รุนแรงที่สุดและเสี่ยงเสียชีวิตคือ โรคลมแดด

ตากแดดจัดนานๆ ระวังเป็นฮีทสโตรก!

ขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมควบคุมโรค


ข้อมูลสุขภาพ บทความแนะนำ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า