PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยง! หยุดหายใจขณะหลับ

ละอองฝุ่น PM 2.5 ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับ จมูก คอ และผิวหนัง โดยเฉพาะโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยเปิดเผยว่า การสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ปริมาณมากนั้น มีโอกาสสูงที่ประสิทธิภาพการนอนหลับจะด้อยลงและมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

โรคหู คอ จมูก ที่มาพร้อม PM2.5

มีงานวิจัยจากไต้หวันรวบรวมข้อมูลกว่า 4,312 คน จากศูนย์การนอนหลับของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเป และข้อมูลจากสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของไต้หวัน พบว่า ฝุ่น PM 2.5,  ดัชนีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (AHI),  ดัชนีการลดความอิ่มตัวของออกซิเจน (ODI) มีความเชื่อมโยงกันเมื่อถูกทดสอบโดยการจำลองสารเป็นระยะเวลา 1 ปี พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นของค่า PM 2.5 ถึง 3.4 μg/m3 ค่า AHI เพิ่มขึ้น 4.7% และ ค่า ODI เพิ่มขึ้น 2.5%

งานวิจัยของสหรัฐอเมริกาจากกลุ่มตัวอย่าง 1,974 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยตัดความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับด้านอื่นๆ เช่น เพศ น้ำหนัก ออกไปแล้วพบว่า การหายใจเอาทุกๆ 5 μg/m3 ของฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับถึง 60%

อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการอักเสบและบวมของระบบทางเดินหายใจส่วนต้นรวมถึงฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่สมองและส่งผลกระทบถึงส่วนที่ควบคุมการหายใจโดยตรง

ป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 แนะนำดูแลสุขภาพตนเองโดยปฎิบัติดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัย
  • ใช้เครื่องฟอกอากาศ (HEPA)
  • ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
  • รักษาความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัย

แพ็กเกจตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test)


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า