คุณมีอาการ ‘โลหิตจาง’ หรือไม่?

ภาวะโลหิตจาง คืออะไร?

โลหิตจาง (Anemia) หรือภาวะซีด เป็นภาวะที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลิตออกซิเจนได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย​ ภาวะนี้พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไป โดยอาการแสดงอาจมากหรือน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับเม็ดเลือดแดงในร่างกายและความสามารถในการปรับตัวต่อภาวะโลหิตจางของแต่ละคน

ภาวะโลหิตจางเกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดย สามารถแบ่งออกได้เป็นสาเหตุหลักๆ ได้ดังนี้

1) การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง ซึ่งมีปัจจัยมาจาก

  • การขาดสารอาหาร ได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิค
  • ภาวะโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังบางชนิดหรือการรักษาโรคเรื้อรัง อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคไตวายเรื้อรัง โรค HIV โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
  • การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก เนื่องจากการขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและกรดโฟลิก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด
  • โรคเกี่ยวกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดในไขกระดูก เป็นต้น

2) การทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติในร่างกาย เป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรือโรคในกลุ่มที่เป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรืออาการดีซ่าน ร่วมด้วย เช่น

  • โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemias) เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบบ่อย
  • รูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Sickle Cell Anemia)
  • การติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย คลอสติเดียม มัยโค พลาสมา เป็นต้น

3) การสูญเสียเลือดอย่างฉับพลัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การตกเลือด ภาวะเลือดหลังคลอดบุตร หรืออาจค่อยๆ เสียเลือดเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยที่เสียเลือดเรื้อรัง ก็จะมักจะทำให้มีการขาดธาตุเหล็กตามมาด้วย การสูญเสียเลือดเรื้อรัง เช่น สียเลือดทางประจำเดือนในผู้หญิง เสียเลือดในทางเดินอาหารในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน


คุณเสี่ยงเป็นภาวะโลหิตจางหรือไม่?

  • เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ตัวซีดเหลือง อย่างเห็นได้ชัด
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • มึนงง วิงเวียนศีรษะ
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น
  • หากมีอาการรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลว
  • หากมีอาการเรื้อรัง อาจพบอาการมุมปากเปื่อย เล็บมีลักษณะอ่อนแอและแบน หรือเล็บเงยขึ้นมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน

ไม่อยากเป็นภาวะโลหิตจาง ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามิน และสารอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู นม ไข่ เลือดหมู ธัญพืช โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทารก และวัยรุ่น
  • รับประทานวิตามินเสริมโดยขอคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยโฟลิค และธาตุเหล็ก เช่น ปลา เนื้อแดงไร้ไขมัน ไข่ ถั่ว และผักใบเขียว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง และอาจรับประทานวิตามินเสริม โฟลิค และธาตุเหล็ก เพื่อช่วยรักษาระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อแนะนำการรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมใดๆ ก่อนเสมอ
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะโลหิตจาง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงการส่งต่อทางพันธุกรรม

หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะโลหิตจาง ควรไปปรึกษาพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสุขภาพร่างกาย และตรวจวินิจฉัยว่าอาการดังกล่าวนั้น เป็นอาการของภาวะโลหิตจางหรือไม่ ในบางครั้งอาจตรวจพบโรคร้ายแรงที่แฝงอยู่ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับการรักษาภาวะโลหิตจาง โดยทั่วไปการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ และสาเหตุของอาการ ดังนั้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ และรับการรักษาที่สาเหตุนั้นๆ

ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม?

7 กลุ่มโรคที่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19

ผู้ป่วยโรคโลหิตวิทยา โรคโลหิตจาง โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย รวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยทุกคน ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยสามารถรับวัคซีนได้ทุกชนิดที่ผ่านการรับรองในประเทศไทย โดยทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ 

(ขอบคุณข้อมูลจาก สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย)


โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี โรงพยาบาลศิครินทร์

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า