“กัญชา” บริโภคมากเกินเสี่ยงเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

กัญชา มีสารประกอบกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) อยู่ 2 ชนิดสำคัญ ได้แก่ สาร CBD (Cannabidiol) และสาร THC (Tetrahydrocannabinol)

สาร CBD (Cannabidiol) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ได้

  • ลดความวิตกกังวล ผ่อนคลาย
  • ลดอาการปวด
  • ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ไม่มีผลต่อจิตประสาท และไม่ก่อให้เกิดการเสพติด

สาร THC (Tetrahydrocannabinol) หรือ “สารเมา” เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยสารนี้จะออกมาพร้อมกับสาร CBD ตอนสกัดกัญชา หากร่างกายได้รับสาร THC มากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย

  • ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ใจสั่น สติแปรปรวน
  • ประสาทหลอน เกิดภาพหลอน หูแว่ว
  • หวาดระแวง แพนิค
  • ความจำระยะสั้นแย่ลง
  • สมองทำงานแย่ลงโดยกะทันหัน
  • มีผลอย่างมากต่อระบบสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี โดยมีผลทั้งด้านความจำ และปริมาณเนื้อสมองที่จะลดลงถึง 10%
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเวช หรือมีประวัติครอบครัว เพิ่มความเสี่ยงเกิดอาการประสาทหลอนอย่างถาวร สูงถึง 20%

อาการดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แม้จะหยุดการบริโภคไปแล้ว อาการก็อาจจะไม่ดีขึ้น โดยพบว่าสาร THC จะตกค้างอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 1-7 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและความถี่ในการบริโภค

กัญชา” กับผลกระทบต่อสมองเด็กและวัยรุ่น

กัญชา ใครบ้างที่ต้องระวัง!

กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง และเสี่ยงเกิดอันตรายหากบริโภคกัญชาและกัญชง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้หญิงตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่ให้นมบุตร เนื่องจากเด็กและเยาวชนมีโอกาสเสพติดกัญชา และยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง ในผู้หญิงตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคด้วยเช่นกัน เพราะส่งผลโดยตรงต่อทารกในครรภ์และผ่านทางการให้น้ำนม

แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศไทยจะอนุญาตให้ปลูกตามบ้านได้แล้ว โดยสามารถใช้ส่วนประกอบของพืช ยกเว้น ช่อ ดอก ยาง น้ำมัน ในการทำอาหาร ซึ่งถือเป็นส่วนที่ห้ามใช้เนื่องจากมีสารเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อระบบสมองและหลอดเลือด การนำส่วนใดส่วนหนึ่งของกัญชา กัญชง ไปสกัดเพื่อให้ได้สาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ยังคงต้องแจ้งขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2% จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ

กัญชาและกัญชง มีทั้งประโยชน์และโทษ เราควรทำความเข้าใจถึงประโยชน์และโทษในการบริโภค ระมัดระวังในการใช้ความร้อนในการปรุงเพื่อนำมาบริโภค และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะมีประโยชน์ในทางการแพทย์


ขอบคุณข้อมูลจาก: BBC, แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี – อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า