อันตรายจากข้อเท้าแพลง

สังคมปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ ทำให้ “ข้อเท้าแพลง” เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น การเดินหรือวิ่งบนพื้นผิวขรุขระ การก้าวบันไดผิดขั้น การใส่รองเท้าส้นสูง การเล่นกีฬาออกกำลังกาย ปัญหาเรื่องการทรงตัวของผู้สูงอายุ การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การสวมรองเท้าไม่เหมาะกับขนาดเท้า เป็นต้น

ข้อเท้าแพลงนั้นเกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าอย่างรวดเร็วจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกินไปหรือฉีกขาด จึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง กระดูกอ่อนในข้อได้รับบาดเจ็บ และอาจทำให้กระดูกหัก โดยอาการข้อเท้าแพลงจะแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ระดับ

  • ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง มีอาการปวดบวมเล็กน้อย
  • ข้อเท้าแพลงชนิดปานกลาง มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้มีอาการปวดบวมเฉพาะที่และอาจมีเลือดคั่ง
  • ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง เอ็นข้อเท้าด้านนอกฉีกขาด ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ปวดบวมมากและมีเลือดคั่ง ต้องเข้ารับการผ่าตัด

** ข้อควรรู้ในการปฐมพยาบาล**

  • สิ่งแรกที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ นั่งพักแล้วยกขาสูงเหนือระดับหัวใจ เพื่อลดอาการอักเสบและการบวมของข้องเท้า ห้ามฝืนเดินต่อ
  • นำนํ้าแข็งมาประคบข้อเท้าเพื่อลดอาการอักเสบ และนำผ้ามาพันยึดข้อเท้าไม่ให้ข้อเท้าเคลื่อนไหวได้ เพราะอาจจะไปกระตุ้นให้เส้นเอ็นรอบข้อเท้าอักเสบเพิ่มขึ้น
  • ห้ามประคบด้วยความร้อน ภายใน 24 ชั่วโมง! เพราะความร้อนจะทำให้เลือดมาไหลเวียนบริเวณนั้นมากยิ่งขึ้นจนเกิดอาการบวมได้
  • ห้ามนวดด้วยมือและนวดน้ำมันที่มีฤทธิ์ร้อนในขณะที่ยังบาดเจ็บอยู่ เพราะการนวดนั้นอาจไปกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บต่อเส้นเอ็นเพิ่มขึ้นและหายช้ากว่าปกติได้
  • หลังจาก 3 วัน หรือหายบวมแล้ว สามารถประคบร้อนได้เพื่อให้เลือดไหลเวียน

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า