ไข้เลือดออก อันตราย! ห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด

ไข้เลือดออกระบาด ติดซ้ำอันตรายถึงชีวิต!! โอกาสเสียชีวิตมากในผู้ใหญ่ เนื่องจากเหตุป่วยซ้ำครั้งที่สอง!! โดยไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสเดงกี มีสายพันธุ์ถึง 4 สายพันธุ์

  • DENV-1
  • DENV-2
  • DENV-3
  • DENV-4

โดยทุกสายพันธุ์สามารถทำให้เสียชีวิตได้!!! ใน 1 ชีวิตเราสามารถติดได้ถึง 4 ครั้ง โดยการติดเชื้อครั้งแรกอาการอาจจะไม่มาก แต่ถ้ามีการติดเชื้อซ้ำจะมีความรุนแรงสูงมาก

อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่าในปี 2566 พบผู้ติดเชื้อประมาณ 150,000 ราย ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะพบผู้ติดเชื้อมากขึ้น อยู่ที่ประมาณ 276,945 ราย เสียชีวิต 280 ราย ทั้งนี้คาดว่าปีนี้จะพบผู้ติดเชื้อสูงสุดของค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังถึง 3 เท่าตัว (รายงาน ณ วันที่ 10 มกราคม 2567)

ปัจจุบันการเสียชีวิตอยู่ในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ความดัน เบาหวาน กลุ่มเหล่านี้ต้องรีบวินิจฉัยให้เร็ว หลีกเลี่ยงเรื่องยาที่อาจเป็นอันตราย

หากติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อก เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด มีประจำเดือนปริมาณมากกว่าปกติ จะทำให้เสียชีวิตได้

Qdenga (Denque Vaccine) วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกชนิดใหม่ ครอบคลุมไวรัสไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโดยรวมได้ดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4-60 ปี


ระวัง! โรคไข้เลือดออก ห้ามซื้อยาทานเอง! มีผลต่อทารกในครรภ์!

มาย้อนดูสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในประเทศไทยปี 2566 มียอดผู้ป่วยจาก ไข้เลือดออก จำนวน 153,734 ราย และเสียชีวิต 168 ราย นอกจากนี้ยังมีโอกาสแพร่ระบาดช่วงฤดูฝนภายในปี 2567 คล้ายกันกับปีก่อนอีกด้วย ซึ่งโรคไข้เลือดออกจะมีอาการ ไข้สูง 2-7 วัน ปวดเมื่อยตามตัว ตาแดง คลื่นไส้อาเจียน และถ่ายเหลว

แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยรวมถึงสตรีมีครรภ์ไม่ควรซื้อยาลดไข้ทานเองเด็ดขาดเนื่องจากยาลดไข้บางกลุ่มเป็นอันตรายถึงชีวิตและส่งผลต่อเด็กทารกในครรภ์ แล้วมียาอะไรกันบ้างที่ไม่ควรซื้อทานเอง?

กลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs)

  • ไอบูโพรเฟน
  • ไดโคลฟีแนค
  • แอสไพริน
  • นาพรอกเซน

อาจส่งผลข้างเคียง เช่น เลือดออก แผลในกระเพาะอาหาร หัวใจวาย

อันตรายสตรีมีครรภ์ใช้กลุ่มยาเอ็นเสดหลังสัปดาห์ที่ 20

  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย
  • ความผิดปกติต่อไตของทารก
  • ภาวะแทรกซ้อนต่อปอดและแขนขาของทารก
  • บางรายเสียชีวิตแรกคลอด

ไข้เลือดออก อันตราย! หากพบว่ามีอาการเสี่ยง หรือสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก หรือผู้ป่วยมีไข้สูงไม่ลดลงอาจเสี่ยงภาวะช็อก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที


ข้อมูลสุขภาพ บทความแนะนำ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า