“สมาร์ทโฟนซินโดรม” ภัยสุขภาพของคนติดหน้าจอ

สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แทบจะถือได้ว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ของเราในทุกวันนี้ เราจะเห็นได้ว่าทุกคนก้มมองจอตลอดเวลา ซึ่งการจ้องสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ นั้น ทำให้เข้าข่ายเป็นโรค “สมาร์ทโฟนซินโดรม – Smartphone Syndrome” โดยโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงทุกวัย

โรคสมาร์ทโฟนซินโดรม มีผลเสียต่อสุขภาพมากมาย อีกทั้งยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะหากใช้สมาร์ทโฟนในขณะที่ขับรถหรือเดินจนไม่มองทาง โดยสมาร์ทโฟนซินโดรมส่งผลเสียต่อร่างกาย ดังนี้

  • สมาธิสั้น
  • ปวดตา ตาแห้ง ตาแดงช้ำ
  • ปวดหัว วิงเวียน
  • ปวดข้อมือและนิ้วมือ
  • มีความเครียด เพราะได้รับข้อมูลมากเกินจำเป็น
  • นิ้วล็อค
  • ซึมเศร้าวิตกกังวล
  • ปวดกระดูก คอ บ่า
  • อ่อนเพลีย เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ระบบการเรียนรู้แย่ลง

เด็กติดมือถือ ผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการที่พ่อแม่ต้องระวัง!!!

รู้หรือไม่ว่า สมาร์ทโฟนเทคโนโลยีสุดล้ำ ที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ใช้เป็นสื่อในการเลี้ยงลูก ส่งผลกระทบต่อสมองและพัฒนาการของเด็ก!!! โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ขวบ โดยผลเสียจากการที่เด็กติดมือถือ แท็บเล็ต มีดังนี้

  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว
  • นอนหลับยากขึ้น คุณภาพการนอนลดล
  • การเรียนรู้ลดลง ความคิดสร้างสรรค์น้อยลง
  • ตื่นสาย เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ระบบภูมิคุ้มกันไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนในการใช้เทคโนโลยีของลูกน้อย โดยควรจำกัดเวลาในการใช้งานไม่เกิน 60 นาทีต่อวัน และควรให้เริ่มใช้เมื่อเด็กอายุ 3 – 4 ปี และควรหากิจกรรมอื่นๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการเล่นมือถือ แท็บเล็ต

หนูโกรธแล้วนะ! … สอนลูกให้จัดการอารมณ์อย่างไรดี?


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า