*รับมือ “เอ็มพ็อกซ์” (mpox) หรือฝีดาษลิง ป้องกันก่อนเสี่ยง!!*

ทำความรู้จัก “โรคฝีดาษลิง” (Monkeypox) แพร่เชื้อ-ติดต่ออย่างไร?

โรคฝีดาษลิงติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คน ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่หากพบอาการรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่ปอด เชื้อลามไปที่สมอง เกิดสมองอักเสบ บางรายติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็น ผู้ที่มีอาการรุนแรงมีโอกาศเสียชีวิต 3-6%


พบ! ผู้ป่วยฝีดาษลิงเสียชีวิตรายแรกในไทย!! พบติดทั้งเชื้อ “เอชไอวี-ซิฟิลิส” ร่วมด้วย

ซิฟิลิส – โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ควรมองข้าม

🐵 สถานการณ์ฝีดาษลิง (mpox) ยังน่าห่วง ล่าสุดกทม.เป็นพื้นที่สีแดงพบเฉลี่ย 3 เดือน คือเดือน มิถุนายน,กรกฎาคม,สิงหาคม (รายงาน ณ สิงหาคม 2023)

หลังสัมผัสผู้ป่วยภายใน 21 วัน หากมีอาการ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่น หรือตุ่มน้ำ และตุ่มหนองขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก หรือบริเวณรอบๆ ตามมือ เท้า หน้าอก ใบหน้า หรือบริเวณปาก ให้รีบเข้ารับการตรวจที่สถานบริการสุขภาพ หรือโรงพยาบาลทันที พร้อมแจ้งอาการและประวัติเสี่ยงประกอบการวินิจฉัย

*วิธีป้องกันดูแลตนเองไม่ให้ติดโรคฝีดาษลิง*

  • ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล
  • รับประทานอาหารปรุงสุก งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
  • ไม่สัมผัสผื่นของผู้ติดเชื้อ และผู้มาจากพื้นที่เสี่ยง และมีอาการ
  • เมื่อเข้าห้องน้ำสาธารณะ ควรทำความสะอาดชักโครกก่อนนั่งทำธุระ
  • หลีกเลี่ยงการเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์ป่า จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค

โรคฝีดาษลิงติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คน ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่หากพบอาการรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่ปอด เชื้อลามไปที่สมอง เกิดสมองอักเสบ บางรายติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็น ผู้ที่มีอาการรุนแรงมีโอกาศเสียชีวิต 3-6%


ทำความรู้จักกับ โรคฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ให้มากขึ้น โดยแพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี – อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลศิครินทร์

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า