อาการปวดคอ ไหล่ หลัง จากการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ และกลุ่มคนไอทีทั้งหลายที่ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน บางท่าทางจะทำให้เกิดการโค้งงอผิดรูปของกระดูกได้ และบางท่าทางทำให้เกิดอาการตึง ยึด จนเกิดอาการปวดในที่สุด อาการแบบนี้เรียกว่า “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome)
สัญญาณเตือนอาการออฟฟิศซินโดรม – อาการแบบไหนเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม
เคล็ดลับ การป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม
- ระวังเรื่องท่าทางในการนั่ง อย่านั่งไหล่ห่อ อย่านั่งหลังค่อม
- การยกของจากพื้นควรระวัง ควรยกของให้ถูกต้อง ถูกท่าทาง
- แบ่งเวลาในการทำงานระหว่างวัน ควรพักผ่อนยืดเส้นสาย กายบริหารด้วยท่าง่ายๆ ที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
- ปรับการวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้ให้เหมาะสม ให้ตั้งตรงไม่เอียงซ้ายขวา
- ควรนั่งให้ห่างจากจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 1 ไม้บรรทัด เพื่อถนอมสายตา
- จัดวางของที่ต้องใช้ให้ใกล้ตัว ใกล้มือ จะได้ไม่ต้องเอี้ยวตัวอยู่บ่อยครั้ง
- เมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้ลุกขึ้นผ่อนคลายเพื่อเปลี่ยนท่าทาง เปลี่ยนอิริยาบถ
- การระมัดระวังเรื่องความเครียด เพราะความเครียดถือเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการออฟฟิศซินโดรม
- การใส่ส้นสูง ควรใส่ไม่เกิน 2 นิ้ว
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ท่าบริหารรักษาออฟฟิศซินโดรม
คนส่วนใหญ่ที่ต้องนั่งทำงานที่โต๊ะไม่ต่ำกว่าวันละ 8 ชั่วโมง หรือนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานๆ มีความเสี่ยงมากที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม โดยมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทำงานถึงร้อยละ 60% ป่วยเป็นโรคนี้
5 ท่าช่วยยืดกล้ามเนื้อ ที่อยากให้ทุกคนนำไปใช้กายบริหารที่ออฟฟิศระหว่างวันทำงาน

ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ (Neck Stretch)ช่วยยืดกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อไหล่ได้ผ่อนคลาย เหมาะกับผู้ที่ต้องจ้องคอมเป็นเวลานานๆ จนทำให้เกิดอาการปวดต้นคอ
ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบักหลัง (หลังบน)ช่วยคลายอาการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณสะบักหลัง
ท่าที่ 3 ท่าขาเลข 4 ช่วยลดอาการปวดหลัง เมื่อยก้น ปวดเข่า ต้นขาตึงเหมาะกับผู้ที่ต้องนั่งนานๆ และผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา
ท่าที่ 4 ท่ายืดกล้ามเนื้อไทรเซ็ปส์ (Triceps Stretch)ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่วงคอ หัวไหล่ แขน และหลังส่วนบนไปได้พร้อมกัน
ท่าที่ 5 ท่ายืดกล้ามเนื้อแขน (Stretching Arm) ช่วยเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อแขนแข็งแรง ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อมือทำงานได้ดียิ่งขึ้น