นายแพทย์ธีรยุทธ เอกโรจนกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด รักษาไม่ทัน…อันตรายถึงชีวิต
รู้หรือไม่ว่า “โรคหลอดเลือดหัวใจ” เป็นอีกหนึ่งโรคที่คนไทยเป็นกันจำนวนมาก โดยพบว่าเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ที่ติดอันดับ 1 ใน 4 ของประชากรโลกรวมทั้งในประเทศไทย โดยปัจจุบันมักพบในผู้ที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
“โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากเกิดอาการแล้ว นั่นหมายถึง ทุกวินาทีคือชีวิต หากรักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้”
นายแพทย์ธีรยุทธ เอกโรจนกุล
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ
ภาวะหลอดเลือดแข็ง คืออะไร
“ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis)” หรือ “ภาวะหลอดเลือดตีบ” เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือด ชั้นใน หนาตัวขึ้นเรื่อยๆ มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือด จนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการของอวัยวะต่างๆ ขาดเลือดเกิดขึ้น
สาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็ง เกิดจาก
การอุดตันหรือตีบแคบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ
เกิดการสร้างคราบตะกอนไขมันขึ้นตามผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของหัวใจ
ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจลดลงหรือเลือดไปเลี้ยงไม่ได้
ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม ไขมันสะสมอุดตันอันเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็งไม่ได้เกิดเฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถพบได้ตั้งแต่อายุไม่มาก ทั้งนี้เนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานในปัจจุบันนั่นเอง
โรคหัวใจเกิดจากอะไร?
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท
ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนไม่ได้
- อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดเพิ่มขึ้น
- เพศ ผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าผู้หญิง แต่ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว มีโอกาสเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจใกล้เคียงกับผู้ชาย
- ประวัติครอบครัว หากมีบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ พี่น้อง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนได้
- น้ำหนักเกินและอ้วน
- กลุ่มอาการที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนร่วมกับปัจจัยเสี่ยงด้านอื่นๆ (Metabolic Syndrome) หรืออาจเรียกว่า “อ้วนลงพุง” ร่วมกับมีภาวะความผิดปกติ ได้แก่
- ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- ระดับ HDL ในเลือด (ไขมันดี) ต่ำ
- ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- ระดับความดันโลหิตสูง
- ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะเป็นภาวะที่ไม่แสดงอาการ
- ความเครียด
- ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือโรคเบาหวาน
- ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- การไม่ออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่
- การรับประทานผักและผลไม้ในแต่ละวันน้อยเกินไป
เจ็บหน้าอกแบบไหนที่เป็นอาการโรคหัวใจ
หากมีอาการดังกล่าว บวกกับมีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย นั่นอาจหมายถึงคุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
“เจ็บหน้าอก” แต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ! อาจเป็นอาการของโรคอื่น
*ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการอาจจะไม่จำเพาะเสมอไป ถ้ามีอาการที่ไม่ชัดเจนร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นก็อาจจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม
คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? โรคหัวใจตรวจด้วยวิธีใดได้บ้าง การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
- ประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกาย(Medical history and Physical examination)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG: Electrocardiogram)
- การถ่ายภาพรังสีของทรวงอก (Chest X-ray)
- การบันทึกคลื่นไฟฟ้าชนิดติดตัว (Holter Monitoring)
- การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด (Cardiac Enzyme Test)
- การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST: Exercise Stress Test)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (ECHO: Echocardiogram)
- การตรวจวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Computed Tomographic Angiography)
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiovascular MRI: CMR)
- การสวนหัวใจหรือการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization or Coronary Angiogram)
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รักษาหายไหม?
แนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ และร่างกายของคนไข้ ว่าเหมาะกับการรักษาวิธีใด