ทำความรู้จักวัคซีนไฟเซอร์ และสังเกตอาการข้างเคียงหลังรับวัคซีน

วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เป็นวัคซีน messenger RNA (mRNA) vaccine: วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม หรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์และกำกับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ (Spike Protein) ของเชื้อไวรัส โดยวัคซีนกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ขึ้นมาต่อต้านเชื้อไวรัส เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันเริ่มคุ้นเคยกับไวรัสและเริ่มต้นที่จะเอาชนะมัน และร่างกายจะเรียนรู้วิธีต่อสู้กับโปรตีนเหล่านี้ถ้าต้องเผชิญกับมันอีกครั้ง

สำหรับวัคซีนโควิดไฟเซอร์ องค์กรอนามัยโลกได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้วัคซีนไฟเซอร์ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 โดยวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) เหมาะกับผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 21-28  วัน หรือประมาณ 3-4 สัปดาห์

ประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer)

  • ป้องกันความรุนแรงของโรคได้ 100%
  • ป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการ 94%
  • ป้องกันการติดโรค 96.5%
  • ป้องกันการเสียชีวิต 98-100%
  • มีงานวิจัยรองรับว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความรุนแรงต่อเชื้อโควิดสายพันธุ์อื่นๆ ที่กลายพันธุ์ ได้ โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการป่วยแบบมีอาการจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา (B.1.351) ได้ 88%

ผลข้างเคียงหลังรับวัคซีน

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้หลังได้รับวัคซีนไฟเซอร์ ได้แก่

  • ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำในจุดที่ฉีด
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดเมื่อยตามข้อ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย

ผลข้างเคียงดังกล่าวอาจแสดงอาการใน 1-2 วัน หลังจากที่ได้รับวัคซีน หรือ 1-2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีน หรือในบางรายอาจพบผลข้างเคียงหลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะหายไปในไม่กี่วัน

หลังได้รับวัคซีนแล้ว ควรนั่งพักและสังเกตอาการของตนเองอย่างน้อย 30 นาที โดยมีอาการที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจเป็นอาการแสดงที่สำคัญของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เป็นเหตุให้ผู้รับวัคซีนเกิดความกังวลใจ

  • อาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
  • หอบ เหนื่อยง่าย
  • ใจสั่น
  • หมดสติ เป็นลม รู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ

โดยอาการข้างเคียงที่อาจเป็นภาวะกล้ามเนื้อและเยื่อหัวใจอักเสบ พบอัตราการเกิดผลข้างเคียงนี้ในวัยรุ่นชายอายุ 12 – น้อยกว่า 16 ปี เป็นจำนวน 162.2 ต่อจำนวนหนึ่งล้านโดส

หากพบความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ให้รีบพบแพทย์ทันที นอกจากการสังเกตอาการในช่วง 30 นาทีแรกแล้ว ควรติดตามอาการอย่างต่อเนื่องอีก 30 วัน และภายใน 7 วัน หลังจากฉีดวัคซีนไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักๆ เพราะจะทำให้หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น และความเหนื่อยล้าจากการออกกำลัง อาจทำให้เกิดความกังวลและไม่แน่ใจว่าเป็นอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากวัคซีนหรือไม่


อ้างอิงข้อมูลจาก: กระทรวงสาธารณสุข, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ศูนย์ข้อมูล COVID–19, องค์กรอนามัยโลก (WHO), ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

ข้อมูลสุขภาพ Covid-19
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า