อันตราย!! เสียงดังจากเครื่องเสียง อาจมากกว่าหูอื้อ

เราคงจะเคยสัมผัสกับงานสังสรรค์ คอนเสิร์ต งานประจำปี ที่เต็มไปด้วย แสง สี เสียงที่ดังจากลำโพงตัวใหญ่ โดยเฉพาะเวลาที่เดินผ่านบางครั้งก็รู้สึกหูอื้อ ใจสั่นแรง

  • เสียงดังทำให้สูญเสียการได้ยินทั้งชั่วคราว และถาวร
  • เสียงดังทำให้เกิดการรบกวน การพูดสื่อความหมาย สัญญาณต่างๆ ถูกรบกวนจากเสียงดัง และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • เสียงดังทำให้เกิดการตกใจ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดปกติ และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

เสียงที่ดังเกินไปไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญอย่างเดียว แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน หรือเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงบางชนิดได้

การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม อาจมีผลกระทบไปถึงสุขภาพกาย เกิดการป่วยไข้ทางกาย ได้แก่ 

  • โรคหัวใจ 
  • ความดันโลหิตสูง 
  • สุขภาพจิตจิตไม่สงบ 
  • วิตกกังวล 
  • สับสน 
  • นอนไม่หลับ 
  • ภาวะก้าวร้าวในเด็ก

เสียงดังแค่ไหนเป็นอันตรายกับสุขภาพ?

เสียงที่มีความดังประมาณ 85 เดซิเบลขึ้นไป เช่นเสียงการจราจรบนท้องถนน หากได้ยินเป็นเวลานานจะเป็นอันตรายต่อโสตประสาท และหากได้ยินเสียงความดังระดับ 120 เดซิเบล อย่างเสียงไซเรนของรถพยาบาล อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการได้ยินทันที

อันตรายจากเสียงดังและผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องทำงานเกี่ยวกับเสียง หรือสถานที่ทำงานมีเสียงดังตลอดเวลา โดยกลุ่มอาชีพเสี่ยง 4 กลุ่มนี้ ได้แก่ กลุ่มงานอุตสาหกรรม กลุ่มงานตัดไม้ เลื่อยไม้ กลุ่มงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มงานอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง ควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินการได้ยินเป็นระยะ หากรู้สึกได้ยินเสียงไม่ชัดเจน หรือมีความผิดปกติต่างๆ เกิดขึ้นกับการได้ยิน ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง

ประสาทหูเสื่อม ภาวะการสูญเสียการได้ยิน เนื่องจากเซลล์ประสาทหูเสื่อมสภาพ เกิดได้จากหลายสาเหจุ โดยการฟังเสียงที่ดังมากเกินไป ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมได้ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานมีความเสี่ยงดังกล่าวต้องระวัง! โดยอาการที่สังเกตได้ว่า คุณกำลังอาจเสี่ยงเป็นประสาทหูเสื่อม…

  • ฟังคนอื่นไม่ค่อยชัด ได้ยินเบา
  • การได้ยินลำบาก โดยเฉพาะในที่ที่มีเสียงดัง
  • ได้ยินเสียงวี้ดในหู จนรบกวนชีวิตประจำวัน

นอกจากการทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังแล้ว การใส่หูฟังเป็นประจำ และฟังเพลงเสียงดังเกินกว่าระดับเสียงปกติที่ควรได้ยิน ก็อาจส่งผลให้ประสาทหูชั้นในเสื่อมได้ง่ายยิ่งขึ้น และอาจเกิดความเสี่ยงจนทำให้เกิดอาหารหูตึง หูหนวกได้ด้วย


ข้อมูลสุขภาพ บทความแนะนำ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า