COVID-19 แบบไหนเรียก “เสี่ยงสูง” ปฏิบัติตัวอย่างไรดี?

แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ


สถานการณ์โควิด-19 ยังคงแพร่ระบาด และมีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายท่านต่างสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อมา เมื่อพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่ม “ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง” ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี? จะต้องตรวจ ATK ตอนไหน แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไปหากผลตรวจเป็นบวก (Positive)

“มีไข้ ไอ เจ็บคอ ตาแดง ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว แสบคอมาก” ตรวจ ATK ทันที!

ไม่มีอาการเหล่านี้ แต่ไปสัมผัสผู้ติดเชื้อ COVID-19 แบบใกล้ชิด โดย…

  • อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
  • เรียนหนังสือ หรือทำงานด้วยกัน
  • คุยกันโดยไม่สวมหน้ากากอนามัยนานเกิน 5 นาที
  • เดินทางไปเที่ยวด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน

คุณคือ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง! ควรตรวจ ATK ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเจอผู้ติดเชื้อ

กรณีที่ผลตรวจเป็น (-) ควรตรวจทุก 3 วัน คือวันที่ 0 , 3 และ 7 จนครบ 7 วัน โดยในระหว่าง 7 วันนี้ ให้กักตัวอยู่ที่บ้าน หรืออยู่คนเดียวก่อน หากไม่มีอาการและครบกำหนด 7 วันแล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และสังเกตอาการตนเองต่อจนครบ 10 วัน

วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง

ทำอย่างไรดีเมื่อผล ATK เป็นบวก (+)

1. หลังพบว่าผลตรวจ ATK เป็น (+) แนะนำให้ตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง (ในกรณีที่สามารถทำ RT-PCR ได้) ทั้งนี้เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลบวกลงได้ (False Negative) โดยสามารถพบได้ประมาณ 0.5 – 0.05% ซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อของชุดตรวจทดสอบ (ATK) ที่ใช้ตรวจ

ตรวจโควิด-19 RT-PCR vs ATK ต่างกันอย่างไร?

2. ให้ตรวจสอบตัวเองว่า อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนี้

  • ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่รับประทานยากดภูมิ ผู้ติดเชื้อ HIV เป็นต้น

ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว มีโอกาสพบภาวะปอดอักเสบ หากเกิดการติดเชื้อ โดยมักพบอาการปอดอักเสบในช่วงวันที่ 5 -7 ซึ่งจะต้องรับยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปอดอักเสบ

3. กรณีที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล ให้รักษาตามอาการ โดยทำ Home Isolation, Hotel Isolation, Community Isolation โดยเข้าระบบตามสิทธิ์การรักษาที่ผู้ป่วยมี

ตรวจ COVID-19 ด้วย ATK ผลเป็นบวก ต้องทำอย่างไร?


คำแนะนำสำหรับวิธีการกักตัว

(ข้อมูลจาก ศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ วันที่ 9 ก.พ. 2565)

  1. แยกตัวจากผู้อื่น แยกนอน แยกรับประทานอาหาร จนครบ 10 วัน นับจากวันที่มีอาการครั้งแรก
  2. หลังแยกตัวจนครบ 10 วัน และอาการทุเลาลงแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ  สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  3. หากต้องการไปกักตัวที่ Hospitel ที่ท่านจัดหาเอง สามารถใช้ผลตรวจจาก application “หมอพร้อม” เพื่อเข้ารับการดูแล
  4. หากกักตัวครบ 10 วันแล้ว สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้จากโรงพยาบาลใกล้บ้านที่ 1330 จัดหาให้ หรือรับจาก Hospitel ที่ท่านเข้ารับบริการ

ผู้ป่วยที่จะเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลนั้น จะต้องมีความจำเป็นทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีอาการไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
  • หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาทีในผู้ใหญ่
  • Oxygen Saturation < 94%
  • โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • สำหรับในเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนม หรือรับประทานอาหารน้อยลง

ใครที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีน ไปฉีดวัคซีนด่วน!

สำหรับใครที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แนะนำให้ควรรีบรับวัคซีนทันที โดยควรรับวัคซีนชนิด mRNA ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก (WHO) โดยปัจจุบันยังคงพบผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบและเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่บอกกันว่าไม่รุนแรงก็ตาม

ฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ฉีดเมื่อไรดี? สำหรับใครที่ถึงกำหนดรับวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็ม 3, เข็ม 4) และยังไม่เคยได้รับวัคซีนชนิด mRNA มาก่อน ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่จำเป็นจะต้องได้รับวัคซีนชนิดนี้ เพราะการรับวัคซีนมีประโยชน์ ดังนี้

  • ลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ
  • ลดความรุนแรงของโรค เมื่อเกิดการติดเชื้อ
  • ลดอาการ และลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปหาผู้อื่น
  • ลดภาวะ Long Covid หรืออาการหลังจากติดเชื้อโควิด-19

อ้างอิงข้อมูลจาก:

กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 13 ม.ค. 2565
ศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ วันที่ 9 ก.พ. 2565


ข้อมูลสุขภาพ Covid-19 บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า