เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ควรทำอย่างไร?

ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คืออะไร?

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้สัมผัสใกล้ชิด และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยให้คำนิยามไว้ว่า

  • ผู้สัมผัสใกล้ชิด หมายถึง ผู้ที่มีพฤติกรรมการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อเข้าข่าย/ยืนยันในวันเริ่มป่วยในช่วงมีอาการป่วย หรือก่อนมีอาการประมาณ 2-3วัน (ทั้งนี้หากเป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการให้ถือวันที่เก็บสิ่งส่งตรวจเสมือนเป็นวันเริ่มป่วย) โดยมีพฤติกรรมสัมผัสอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. ผู้ที่อยู่ใกล้หรือมีการพูดคุยกับผู้ติดเชื้อเข้าข่าย/ยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะ 2 เมตร
    เป็นเวลานานกว่า 5 นาที หรือถูกไอจามรดจากผู้ป่วย
  2. ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศมากนัก ร่วมกับผู้ติดเชื้อเข้าข่าย/ยืนยันโรคติดเชื้อไวรัส
    โคโรนา 2019 เป็นระยะเวลานานกว่า 30 นาที เช่น ในรถปรับอากาศหรือห้องปรับอากาศ

ผู้สัมผัสใกล้ชิด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย หรือไม่ได้ใส่ personal protective equipment (PPE) ตามมาตรฐานตลอดช่วงเวลาที่มีการสัมผัสใกล้ชิด ข้างต้น
  • ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ หมายถึง ผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ไม่เข้าเกณฑ์ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ณ วันที่ 21 มกราคม 2565

ใครคือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง? บุคคลที่ถือเป็นผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง ได้แก่

  • พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันและใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย
  • ได้มีการพูดคุยกับผู้ป่วย มากเกินกว่า 5 นาที (หากไม่สวมหน้ากากอนามัย ยิ่งมีความเสี่ยงสูง)
  • ถูกผู้ป่วยไอ จาม รด
  • อยู่ในสถานที่แออัดร่วมกับผู้ป่วย ในระยะ 1 เมตร เป็นเวลาเกิน 15 นาที โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย
  • เครื่องบิน (นั่ง 2 แถวหน้า-หลังของผู้ป่วย)
  • รถประจำทาง รถตู้โดยสาร ถ้าเกิน 15 นาที ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

คุณเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือยัง? ใครบ้างที่ควรตรวจ ATK


ควรทำอย่างไร เมื่อรู้ตัวว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง?

  • สังเกตอาการตนเอง (Self-Monitoring) ประมาณ 3 วัน
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และเว้นระยะห่างจากบุคลคลอื่น
  • ตรวจ ATK ด้วยตนเอง อย่างน้อย 2 ครั้ง (หลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อ 3-5 วัน)
  • ตรวจครั้งที่ 1 ตรวจวันที่ 5 หรือ 6 นับจากวันที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19
  • ตรวจครั้งที่ 2 ตรวจวันที่ 10 นับจากวันที่สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19
  • กรณีที่มีอาการแสดง ไข้ ไอ ปวดตัว เจ็บคอ มีน้ำมูก แนะนำให้ตรวจ ATK ทันที

วิธีตรวจหาเชื้อโควิดโดย Antigen Test Kit (ATK) ด้วยตัวเอง

ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

  • สังเกตอาการตนเอง (Self-Monitoring) ประมาณ 3 วัน
  • ใช้ชีวิตตามปกติ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ที่มีคนจำนวนมาก
  • หากมีอาการ แนะนำให้ตรวจ ATK ด้วยตนเอง

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ติดเชื้อเข้าข่าย/ยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19


ตรวจ ATK ผลเป็นบวก (+) ทำอย่างไรดี? | แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี


ขอบคุณข้อมูลจาก: ศูนย์ข้อมูล COVID-19, แพทย์หญิงวรฉัตร เรสลี อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคติดเชื้อ


ข้อมูลสุขภาพ Covid-19
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า