แคดเมียม คืออะไร?

แคดเมียม (Cadmium, Cd) แร่โลหะหนักชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลากหลายด้าน นอกจากนี้ยังพบกากแร่แคดเมียมในสีที่ผสมใช้กับบ้านหรืออาคาร แคดเมียมปะปนอยู่กับแร่อื่นๆ และ ปัจจุบัน แคดเมียมมีการปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและอาหาร ทำให้เราได้รับเข้าสู่ร่างกาย สะสมอยู่ที่ปอด ตับและไต จนทำให้เกิดพิษโดยไม่รู้ตัว

แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างไร

  • การหายใจ เช่น การสูดดมฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนแคดเมียม
  • การรับประทาน เช่น การปนเปื้อนสารแคดเมียมในอาหาร
  • การสัมผัสทางผิวหนัง

หลังจากแคดเมียมถูกดูดซึมเข้าสู้ร่างกายแล้ว จะถูกลำเลียงไปในกระแสเลือดพร้อมกับเม็ดเลือดแดง และ albumin ที่ตับ แคดเมียมจะจับกับ metallothionine และสร้างเป็นสารประกอบเชิงซ้อนและถูกส่งต่อไปยังไต เนื่องจาก แคดเมียมมีค่าครึ่งชีวิต (half-life) ในคนประมาณ 20-30 ปี การสะสมจะมากขึ้นตามอายุ ประมาณครึ่งหนึ่งของแคดเมียมในร่างกายจะถูกสะสมอยู่ที่ตับและไต

แคดเมียมถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านทางไต แต่อัตราการขับออกจะน้อยกว่าการดูดซึม คือ ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้นที่ถูกขับออกจากร่างกาย ซึ่งมีผลให้เกิดการสะสมในร่างกายโดยเฉพาะในตับและไต นอกจากนี้แคดเมียมยังถูกขับออกทางผม ผิวหนัง และน้ำนม แต่ในระดับที่น้อยมาก การขับออกของแคดเมียมยังขึ้นกับระยะเวลาในการได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย และ total body burden ของแต่ละคนอีกด้วย

เหตการ์ภาวะพิษจากแคดเมียมที่รู้จักกันดี คือ โรคอิไต อิไต (Itai-Itai disease) ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีสาเหตุจากโรงงานถลุงแร่สังกะสี และโรงงานผลิตแร่ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ทิ้งกากแร่ที่มีแคดเมียมและโลหะอื่นๆ ปนมากับน้ำเสียในโรงงาน ทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และเกิดการสะสมในข้าว และอาหารอื่นๆ ที่คนนำมาบริโภค จึงก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพตามมา

แคดเมียมอันตรายอย่างไร?

พิษเฉียบพลัน (Acute toxicity) มักพบในกรณีการหายใจเอาไอระเหยของแคดเมียมเข้าไป อาจมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงมากทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress) หรือ ภาวะหายใจล้มเหลว (Respiratory failure)  และอาจเสียชีวิตได้

พิษเรื้อรัง (Chronic toxicity) การได้รับสารแคดเมียมสะสมเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อความเป็นพิษต่อไต ความเป็นพิษต่อกระดูก ความเป็นพิษต่อปอด ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ความเป็นพิษต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ และการเป็นสารก่อมะเร็ง อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งที่ปอดและกระดูก

อาการเป็นพิษจากแคดเมียม

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  • ระคายเคืองหลอดลม จมูก ลำคอ เกิดถุงลมโป่งพอง
  • เป็นพิษต่อไต
  • กระดูกผุ พรุน เป็นโรคอิไต อิไต

การป้องกันภาวะเป็นพิษจากแคดเมียม

ในกลุ่มคนที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม ทำได้โดยการใส่หน้ากากป้องกันการหายใจเอาไอของแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย การใส่ถุงมือขณะปฏิบัติงาน การล้างมือ และการทำความสะอาดร่างกายหลังการทำงานทุกครั้ง นอกจากนี้ จะต้องมีการเฝ้าระวังการเกิดพิษจากแคดเมียม โดยการตรวจร่างกายและตรวจวัดระดับแคดเมียมในร่างกายเป็นประจำ

สำหรับบุคคลทั่วไป หากไม่ได้รับสัมผัสโดยตรง อาจเฝ้าระวัง สังเกตอาการการเกิดพิษ ที่มีผลมาจากแคดเมียม

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


ข้อมูลสุขภาพ บทความแนะนำ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า