เช็กด่วน! 5 โรคตา พบบ่อยในผู้สูงอายุ 

เช็กด่วน! 5 โรคตา พบมากในผู้สูงอายุ 👴👵

🧑‍⚕️กรมการแพทย์เปิดเผยว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุในปี 2568 แล้วยังพบว่า มีผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 70 ที่สายตาไม่ดี การมองเห็นไม่ชัดเจนเกิดภาวะสายตาเลือนรางหรืออาจตาบอด ถ้าไม่ได้รับการรักษาแต่แรก ซึ่งโรคตาที่พบมากในผู้สูงอายุ มี 5 โรคดังนี้

👁️ ต้อกระจก
เกิดจากเลนส์แก้วตาขุ่น ทำให้แสงผ่านเข้าไปในตาได้น้อยลง ผู้ป่วยต้อกระจกจะมีอาการตามัว เห็นภาพซ้อน ตาสู้แสงไม่ได้

แพ็กเกจสลายต้อกระจก (Package Phaco)

👁️ ต้อหิน
เกิดจากความดันในลูกตาที่สูงขึ้นจน มีการทำลายประสาทตา ผู้ป่วยจะเริ่มสูญเสียลานสายตา คือการมองเห็นจำกัดวงแคบลงจากด้านข้างเข้ามาตรงกลางเรื่อยๆ และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร

👁️ จุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม
เกิดจากภาวะเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดที่อยู่ส่วนกลางของจอตา ทำให้การมองเห็นส่วนกลางของภาพมัวลง เริ่มต้นอาจไม่มีอาการ แต่ต่อมาเมื่อจอตาเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว เห็นจุดดำอยู่กลางภาพ

👁️ ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดฝอยเสื่อมทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดที่จอตา ทำให้เลือดและสารต่างๆรั่วซึมออกมา ระยะแรกมักไม่มีอาการ แต่ตรวจตาพบจุดเลือดออกที่จอตา หากมีอาการตามัวแสดงว่าเบาหวานขึ้นจอตาเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานทุกคนควรต้องตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

เบาหวานขึ้นตา ภาวะแทรกซ้อนอันตรายอันดับ 1 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

👁️ ภาวะสายตายาว
เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทําให้การมองเห็นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจะมองหรืออ่านเขียนหนังสือ ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ระยะใกล้ๆไม่ชัดเจน ต้องถือหนังสือห่างๆ ทำงานระยะห่างๆ บางคนอาจมีตาพร่า หรืออาการปวดตา มักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากความสามารถและช่วงในการเพ่งปรับสายตาลดลง เนื่องจากเลนส์แก้วตาแข็งตัวขึ้น และการทํางานของกล้ามเนื้อตาลดลง

ตรวจสุขภาพตา ใครว่าไม่สำคัญ

📍 หากผู้สูงอายุ สงสัยว่าสายตาผิดปกติสามารถเข้าพบจักษุแพทย์ได้ เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา ต้องการปรึกษาปัญหาสายตากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลศิครินทร์ ศูนย์จักษุ อาคาร 3 ชั้น 2 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น.


ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า