ส่วนสูงของลูก (ตัวเตี้ย) กว่าเพื่อนหรือไม่?

พ่อแม่รู้เท่าทัน! การเจริญเติบโตในเด็ก ส่วนสูงของลูกน้อย ตัวเตี้ย กว่าเพื่อนวัยเดียวกันหรือไม่?

ตัวเตี้ย ปัญหาการเติบโตที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งภาวะตัวเตี้ยที่ผิดปกติและตรวจพบสาเหตุบ่อยที่สุด คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนการเจริญเติบโต


ภาวะตัวเตี้ย มีเกณฑ์การวินิจฉัยคือ

  • ⚠ ความสูงน้อยกว่า -2 ค่าคะแนนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SDS) หรือน้อยกว่าเปอร์เซ็นต์ใกล้ที่ 3
  • ⚠ ความสูงอยู่ในช่วง ± 2SDS แต่ความสูงสุดท้ายที่ได้จากการทำนายต่ำกว่าพันธุกรรมมากกว่า -2 SDS
  • ⚠ อัตราการเพิ่มความสูงผิดปกติตามช่วงอายุ
  • ⚠ มีการเบี้ยวลงของความสูงข้ามเส้นเปอร์เซ็นต์ใกล้อย่างน้อย 2 เส้น

โดยทั่วไปการเจริญเติบโตปกติของเด็กจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ

    • ช่วงแรกเกิด (อายุ 0-2 ขวบ) การเจริญเติบโตจะอยู่ระหว่าง 30-35 ซม.
    • ช่วงวัยเด็ก อัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 5-7 ซม./ปี
    • ช่วงวัยรุ่น/วัยเจริญพันธุ์ อัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ 8-14ซม./ปี

    คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตถึงความผิดปกติทางร่างกาย ควรติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของลูกทุกๆ 3-6 เดือน และควรจดบันทึกการเจริญเติบโตของลูกลงในสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของลูกว่าเพิ่มขึ้นตามวัยหรือไม่เพราะโรคเตี้ยอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะซ่อนเร้นบางอย่างที่ต้องการการรักษาอย่างทันท่วงที

    ลูกของคุณ “ตัวเตี้ย” กว่าเพื่อนหรือไม่?! ปรึกษากุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สถาบันกุมารเวช โรงพยาบาลศิครินทร์


    ข้อมูลสุขภาพ แม่และเด็ก
    โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า