ช่วยเหลือ ผู้ป่วยลมชัก ต้องรู้ “ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด”

อาการชัก เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นชั่วคราวและเกิดอยู่ชั่วขณะ โดยในระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการชัก เซลล์สมองจะปล่อยกระแสประสาทออกมามากกว่าปกติ จนไปกระตุ้นเซลล์ที่อยู่รอบๆ ให้ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยแสดงอาการต่างๆ ออกมา โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการ ดังนี้

  • กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของสมองเฉพาะส่วน ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงโดยขึ้นอยู่กับความผิดปกติของสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย อาจพบอาการ เช่น กระตุกบริเวณใบหน้า แขน ขาเกร็งหรือกระตุก มีอาการชา
  • กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติทั่วทั้งสมอง สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจไม่พบอาการชัก เกร็ง กระตุก มีอาการเหม่อลอย ไม่รู้สึกตัว ทำกิจกรรมซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของอาการดังกล่าว

ทำความรู้จัก “โรคลมชักในเด็ก”


หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการชัก จะทำอย่างไรดี?

วิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยลมชักที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?

  • ห้ามเอาสิ่งของ หรือวัตถุยัดเข้าไปในปากโดยเด็ดขาด
  • จัดสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วย ให้ปลอดภัย เหมาะสม ให้ผู้ป่วยอยู่ห่างไกลจากวัตถุของมีคม หรือของที่มีเหลี่ยมมุม รวมถึงจัดให้อยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี
  • เปิดทางเดินหายใจให้กับผู้ป่วย เช่น คลายเสื้อผ้าให้หลวม ปลดเนคไท ปลดกระดุม ถอดแว่นตา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ พร้อมจัดท่าทางของผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง ซึ่งจะสามารถช่วยระบายเสมหะได้ดี
  • โดยปกติแล้ว เมื่อปฏิบัติตามคำนะนำ ข้อ 1-3 ผู้ป่วยจะหยุดชักเอง หลังจากที่ผู้ป่วยหยุดชักแล้ว ให้รีบนำส่งสถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

ห้ามทำเด็ดขาด  “ใช้ช้อนงัดปาก” ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการชัก

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการชัก โดยการใช้ช้อนยัดปากนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดและเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะว่าอาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ อาจทำให้ฟันหักหรือหลุด และเคลื่อนเข้าไปสู่บริเวณหลอดลมซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ อาการทั่วไปของผู้ป่วยลมชัก จะไม่กัดลิ้นตนเอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเอาช้อนไปงัดปากเพื่อช่วยเหลือแต่อย่างใด

ข้อห้ามต้องระมัดระวัง ในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคลมชัก

  • ห้ามเอาสิ่งของ อาหาร ยา หรือวัตถุใดๆ ก็ตามเข้าไปในปาก เพราะจะทำให้ผู้ป่วยสำลักและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • ไม่กดแขน ขา หรือลำตัวของผู้ป่วย เพราะจะทำให้ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกบาดเจ็บได้

หากพบผู้ป่วยที่มีอาการชัก ควรตั้งสติและทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี การช่วยเหลือก็จะเป็นไปได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า