จุดบุหรี่…จุดมะเร็ง แค่วันละมวน ก็ทำให้อายุสั้นลงได้

บุหรี่เต็มไปด้วยสารเคมีมากมาย มากกว่าหลายพันชนิด ในจำนวนเหล่านี้มีถึง 60 ชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดอันตรายเกือบทุกอวัยวะของร่างกาย นอกจากมะเร็งแล้ว การสูบุหรี่ยังก่อให้เกิดความ “เสี่ยงโรคร้ายสารพัด”

  • มะเร็ง 12 ชนิด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งริมฝีปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งไต มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ 

โดยเฉพาะมะเร็งปอด 90% มาจากการสูบบุหรี่ และ 30% จากผลกระทบของบุหรี่มือสอง ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 50 เท่า

  • เสี่ยงตาบอดถาวร สารพิษในบุหรี่จะทำให้เกิดตาต้อกระจกได้ง่ายขึ้น โดยสังเกตได้จากดวงตาที่ดูขุ่นมัวขึ้นเรื่อยๆ
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด สารนิโคตินและสารเสพติดอื่นๆ ในบุหรี่ จะทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัวและตีบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ จึงทำให้หัวใจขาดเลือดจนเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
  • โรคระบบทางเดินอาหาร สารเคมีในบุหรี่ จะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารผลิตน้ำย่อยมากเกินความจำเป็น จนกัดกร่อนกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผล เมื่อกัดกร่อนนานขึ้นเรื่อยๆ ก็ส่งผลให้เป็นโรคกระเพาะอาหาร เสี่ยงเกิดภาวะกระเพาะทะลุ หรือเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในอนาคต
  • หลอดเลือดสมองตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่บ่อยๆ และสูบเป็นประจำมักเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองตีบและแตกมากกว่าคนปกติสูงถึง 10 เท่า อีกทั้งยังอาจทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ
  • ถุงลมโป่งพอง : ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเพราะการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบากและหายใจยากขึ้น บางคนอาจรู้สึกหายใจได้ไม่เต็มปอดจนต้องหายใจถี่และเร็วขึ้นกว่าปกติ
  • วัณโรค ผู้ที่สูบบุหรี่จะหายใจนำเชื้อโรคเข้าสู่ปอด และเจริญเติบโตเป็นวัณโรค โดยผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราการเสียชีวิตเป็น 2 เท่า ของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • คลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ ทำให้ต้องคลอดก่อนกำหนด เฉลี่ยถึง 19.1 ล้านคน
  • ภูมิแพ้ ควันบุหรี่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหลอดลม ทำให้เกิดการหลั่งสารน้ำเลืองมากกว่าปกติ และขนเล็กๆ ที่ผิวหลอดลมไม่ทำงาน ฝุ่นและเสมหะตกค้าง ก่อให้เกิดการอักเสบและหืดจับ

การสูบบุหรี่ นอกจากจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลายอย่างแล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 อีกด้วย เพราะการสูบบุหรี่จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้กระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคที่หลุดเข้ามาสู่ปอดแย่ลง

การเลิกสูบบุหรี่ นอกจากจะเป็นการช่วยยับยั้งการที่เซลล์ปอดถูกทำลาย ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่างๆ และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น และยังเป็นการป้องกันผลกระทบจากควันบุหรี่มือสองต่อผู้อื่นอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า