การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลอักเสบ

ทอนซิลอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับโรคหวัด หรือเชื้อที่ทำให้ระบบทางเดินหายใจตอนบนอักเสบ อาการของผู้เป็นทอนซิลอักเสบจะมีไข้ หนาวสั่นและเจ็บคอมาก โดยเฉพาะเวลากลืนอาหารหรือดื่มน้ำจะเจ็บมาก หากปล่อยให้เกิดการอักเสบกระจายวงกว้างจะกลายเป็นหนองบริเวณทอนซิล และจะกลายเป็นทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ในที่สุด

ทอนซิลอักเสบ อาการแบบนี้ควรผ่าตัด

  • ทอนซิลอักเสบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ (มากกว่า 7 ครั้งต่อปี)
  • มีฝีรอบๆ ต่อมทอนซิล
  • นิ่วในต่อมทอนซิล
  • สงสัยว่าเป็นเนื้องอก หรือมะเร็งต่อมทอนซิล
  • ทอนซิลโต หรือมีขนาดใหญ่ ทำให้หายใจติดขัด
  • นอนกรน เสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้การผ่าตัดต่อมทอนซิลเพื่อรักษาอาการเรื้อรัง หายกลับมาเป็นปกติได้ ลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ เส้นประสาทและหลอดเลือด และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ดังนั้น หากมีอาการทอนซิลอักเสบบ่อยๆ ปีละหลายครั้ง แนะนำให้มาปรึกษาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษา

สัญญาณเตือน “ต่อมทอนซิลอักเสบ”


คำแนะนำหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล

หลังผ่าตัดต่อมทอนซิลแล้ว อาจพบอาการเหล่านี้

หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาผ่าตัดทอนซิลออก ในกรณีที่สามารถรับประทานอาหาร ดื่มน้ำได้ และไม่มีอาการแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านภายใน 1-2 วัน โดยในช่วง 1-2 วันแรกที่กลับไปพักฟื้น ผนังในคออาจบวมมากขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก รู้สึกอึดอัด อาจทำให้เสียงพูดเปลี่ยนชั่วคราว แนะนำให้นอนยกศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน อมน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อลดอาการบวมบริเวณที่ผ่าตัด หากอาการหายใจไม่สะดวกรุนแรงขึ้น หรือมีเลือดออก หรือลิ่มเลือดออกจากช่องคอผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล

การผ่าตัดต่อมทอนซิล เป็นการผ่าตัดที่บริเวณช่องปากและลำคอ จึงส่งผลให้มีอาการเจ็บคอ และรับประทานอาหารลำบาก

  • แนะนำให้รับประทานอาหารเหลว เย็น เช่น นม น้ำหวาน โยเกิร์ต ไอศกรีม ที่ไม่มีกาก ในช่วง 2-3 วัน
  • หลังจากผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่เย็นแล้ว เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ตุ๋นแช่เย็น
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ด อาหารที่แข็ง หรือมีชิ้นใหญ่ เพราะเมื่อรับประทานไป อาจไปโดนแผล และก่อให้เกิดอาการเจ็บ จนอาจมีเลือดออกได้
  • หลังมื้ออาหารทุกครั้ง ควรกลั้วคอ ทำความสะอาดบ่อยๆ หรือแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทาน โดยไม่ต้องล้วงคอ หรือแปรงฟันเข้าไปในช่องปากลึกเกินไป

กว่าแผลผ่าตัดจะหายดี ผู้ป่วยจะยังมีอาการเจ็บคออยู่

เนื่องจากแผลผ่าตัดที่ในผนังคอทั้งสองข้าง ทำให้กลืนอาหารและน้ำลายได้ลำบาก ผู้ป่วยอาจน้ำหนักลด อาจมีน้ำลายปนเลือดได้เล็กน้อย หรือเห็นเป็นฝ้าสีขาวอยู่ในช่องคอตรงบริเวณของต่อมทอนซิลทั้งสองข้าง บางรายอาจมีไข้ ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ และทำตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาให้ครบ และระมัดระวังตัวเองในช่วงระยะพันฟื้นเพื่อให้แผลหาย ซึ่งโดยปกติแล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นในประมาณ 7-14 วัน และแผลจะหายเป็นปกติใน 2-4 สัปดาห์

ข้อควรระวัง ห้ามทำเด็ดขาดหลังผ่าตัดต่อมทอนซิล

  • ไม่ควรขากเสมหะหรือไอแรงๆ เพราะจะทำให้มีเลือดออกจากแผลในช่องปากได้ แม้ว่าในช่วงแรกๆ จะรู้สึกอึดอัดเหมือนมีอะไรติดคอ
  • ไม่ออกแรงมาก หรือเล่นกีฬาหักโหม ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด เพราะจะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนแผลในช่องปาก
  • ไม่ควรรับประทานอาหาร ประเภทขนมขบเคี้ยว ของทอดของมัน อาหารรสจัด เผ็ดจัด รวมถึงผลไม้รสจัด เช่น น้ำส้มเปรี้ยวจัด น้ำมะนาว เนื่องจากจะทำให้ระคายคอมากขึ้น
  • ห้ามแกะแผ่นขาวๆ (Fibrin) ในคอออก เนื่องจากแผลกำลังจะเริ่มหาย การแกะออกจะทำเลือดออกได้
  • งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนกว่าแผละหาย

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า