ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วน เมื่อบริโภคมาก ๆ และเป็นเวลานาน ทำให้มีไขมันไปสะสมตามผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด รวมถึงเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้อีกด้วย!
ไขมันทรานส์ คืออะไร?
ไขมันทรานส์ หรือ Trans Fat เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวจากการเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติและจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน
ไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ พบในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีปริมาณน้อย
ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) เกิดจากการดัดแปลงโครงสร้างของน้ำมันพืชหรือไขมันไม่อิ่มตัวด้วยกระบวนการ hydrogenation หรือ การเติมหมู่ไฮโดรเจน ทำให้น้ำมันพืชมีลักษณะคงตัวที่อุณหภูมิห้อง ทนความร้อนได้สูง ไม่เหม็นหืน เก็บรักษาได้นาน โดยมักพบในอาหารที่มีส่วนผสมของ
“ไขมันทรานส์” กินมากอันตราย
เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด!
รุนแรงกว่าไขมันอิ่มตัว 10 เท่า!!!
อันตรายจากไขมันทรานส์ กินไขมันทรานส์ เสี่ยงเกิดโรคอะไรได้บ้าง?
- ลดระดับไขมันชนิดดีในเลือด (HDL cholesterol)
- เพิ่มระดับไขมันชนิดเลวในเลือด (LDL cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ให้สูงขึ้น
- เพิ่มระดับโคเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol)
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
- เพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วน

ป้องกันตัวเองจากไขมันทรานส์ กินอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ
การเลี่ยงบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ส่งผลให้มีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงกับภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ของประเทศ โดยควรเลือกการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันตัวเองจากไขมันทรานส์ ดังนี้
- ในแต่ละวันควรรับประทานไขมัน ไม่เกิน 30% ของพลังงาน หรือ 2-3 ช้อนชาต่อมื้ออาหาร
– (ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน ถึง 9 แคลอรี)
– ไขมันทรานส์ ไม่ควรเกิน 2 กรัม
– ไขมันไม่อิ่มตัว ไม่ควรเกิน 20 กรัม - อ่านฉลากอาหารและฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยหลีกเลี่ยงฉลากที่มีคำว่า Hydrogenated Oil เปรียบเทียบปริมาณไขมันทรานส์กับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน เลือกที่เป็น 0
- เลี่ยงอาหารที่ทำจากเนยเทียม เช่น ครัวซองต์ คุกกี้
- เลือกรับประทานไขมันดี โอเมก้า-3 ได้แก่ ปลา เต้าหู้ แซลมอน น้ำมันคาโนลา และอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชขัดสีน้อย
- เลือกใช้น้ำมันให้ถูกประเภท โดยใน 1 ครัวเรือน ควรมีน้ำมันมากกว่า 1 ขวด
– เมนูผัด ทอดธรรมดา ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ในปริมาณน้อย
– เมนูทอดกรอบ ใช้น้ำมันปาล์ม เพราะทนความร้อนได้นานกว่า
– ไม่ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้เกิดเป็นควันง่าย ที่อุณหภูมิการทอดที่ต้องใช้ความร้อนสูง และทำให้เกิดสารโพลาร์ ตัวการสำคัญของสารก่อมะเร็ง
อ้างอิงข้อมูลจาก: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา