เรียนรู้และเข้าใจ ‘โรคซึมเศร้า’

โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ‘เซโรโทนิน (Serotonin)’ มีปริมาณลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุข มีแต่ความวิตกกังวล และหากปล่อยไว้ ผู้ป่วยอาจคิดสั้นฆ่าตัวตายได้

สาเหตุ/ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น

  • ความเครียดสะสม
  • การสูญเสียครั้งใหญ่
  • สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น
  • ความเสี่ยงทางพันธุกรรม

เครียดสะสม ภาวะอันตรายทำลายสุขภาพ

ระวัง! เครียดมาก เสี่ยงเป็นหลายโรค

5 อาการ ที่บอกว่าคุณ “เครียด” เกินไปแล้ว

ความเครียด เป็นภาวะของความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ที่เกิดจากการบีบคั้นกดดัน

เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงแล้ว ภาวะความเครียดอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัจจุบัน เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ส่งผลให้มีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก

ทุกคนต้องเจอกับภาวะความเครียดอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับมือและจัดการความเครียดนี้ได้อย่างไร?


อาการแบบไหนเสี่ยงโรคซึมเศร้า

  • มีอารมณ์ซึมเศร้า
  • อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง
  • เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
  • คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย หรือทำร้ายตัวเอง
  • ความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
  • น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก
  • สมาธิลดลง ใจลอย ลังเลใจไปหมด
  • กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง

คุณเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
หากมีอาการข้างต้น 5 อาการ หรือมากกว่า พบว่าตนเองมีอาการข้างต้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยมีอาการอยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ปรึกษา และรักษาต่อไป


โรคซึมเศร้า รักษาได้อย่างไร?

สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีทั้งการรักษาโดยการใช้ยา การใช้จิตบำบัด การปรับมุมมองเปลี่ยนความคิด การปรึกษาจิตแพทย์ โดยวิธีการรักษาควรได้รับการประเมินโดยแพทย์เท่านั้น

นอกจากนี้การให้กำลังใจจากครอบครัว คนใกล้ชิด ถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีโอกาสคิดสั้นฆ่าตัวตายสูง หากมีเรื่องกระทบกระเทือนใจแม้เพียงนิดเดียว โดยจากสถิติพบว่า มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายมีภาวะของโรคซึมเศร้าด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, กระทรวงสาธารณสุข


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า