โรคเครียดลงกระเพาะ มักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 18-35 ปี เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่อาจจะมีความเครียดมาก ความเครียดที่สะสมในแต่ละวันเป็นตัวการที่ไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะกำเริบ และส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไปด้วย
ทำไมเครียดแล้วลงกระเพาะ?
- ระบบประสาทอัตโนมัติไปกระตุ้นต่อมหมวกไต ให้หลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน
- ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเร่งปฏิกิริยาการเผาผลาญอาหารออกมามาก ทำให้นอนไม่หลับและหิว
- ความเครียดทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้หยุดชะงักลง
เช็กอาการแบบนี้ เครียดลงกระเพาะ
- ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ตอนท้องว่าง
- เสียดหน้าอก อาหารไม่ย่อย
- รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
- แน่นท้อง ท้องอืด เรอเหม็นเปรี้ยว
- นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท

เครียดลงกระเพาะ รักษาได้ไหม?
โรคกระเพาะอาหารสามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ยังมีอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี
วิธีป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะ

‘ความเครียด’ จุดเริ่มต้นของโรคร้าย เพราะความเครียด ไม่ได้ส่งผลร้ายต่อจิตใจเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายอีกด้วย ดังนั้นหากรู้สึกว่าตนเองเครียดมากเกินไป ควรหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำสมาธิ ทำอาหาร เพื่อช่วยลดความเครียด พร้อมจัดตารางการทำงานและวางแผนการทำงานล่วงหน้า