สัญญาณเตือน อาการแบบนี้ เสี่ยง “มะเร็งปากมดลูก”

อายุก่อน 30 ก็เสี่ยง! มะเร็งปากมดลูก | Cervical Cancer สาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้หญิงไทย โดยพบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน 30 ปี ส่วนใหญ่มักพบในช่วงอายุระหว่าง 35 – 50 ปี

สัญญาณเตือน อาการมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก มักไม่แสดงอาการในระยะแรก หมั่นสังเกตอาการของตนเอง

  • ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด มีตกขาวมากกว่าปกติ หรือตกขาวมีเลือดปน
  • เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด
  • ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดบวม
  • ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามรุนแรง)
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ หากรู้จักวิธีการป้องกันตนเอง และหมั่นไปตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

ค้นหาความเสี่ยง ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แบบไหนดี?

  • การตรวจภายใน ไม่สามารถพบก้อนมะเร็งปากมดลูกชัดเจน ต้องตรวจยืนยันโดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  • ตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยา สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็ง ซึ่งต้องทำการสืบค้นต่อ โดยการตรวจภายใน และตรวจด้วยกล้องขยาย เพื่อ ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจด้วยวิธี ThinPrep Pap Test เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว สามารถเก็บตัวอย่างเซลล์ได้มากกว่า และนำไปตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ต่อได้โดยไม่ต้องเก็บตัวอย่างซ้ำ
  • การตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA แบ่งเป็นการตรวจร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV เพียงอย่างเดียว วิธีการตรวจนี้สามารถระบุสายพันธ์ุของเชื้อไวรัสได้ และสามารถค้นพบรอยโรคได้เร็ว
  • ตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ตรวจร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจวิธีอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก
    • การขูดภายในปากมดลูก
    • การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า
    • การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด

ตรวจภายใน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด! ตรวจภายในสำคัญอย่างไร? ต้องตรวจอะไรบ้าง?


มะเร็งปากมดลูกมีกี่ระยะ?

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น ระยะก่อนมะเร็ง และระยะลุกลาม

  1. ระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะลุกลาม ระยะนี้เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายใจชั้นเยื่อบุผิวปากมดลูก ไม่ลุกลามเข้าไปในเนื้อปากมดลูก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติเลย แต่ตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยา หรือ ตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear)
  2. ระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 4 ระยะย่อย คือ
    • ระยะที่ 1 มะเร็งลุกลามอยู่ภายในปากมดลูก
    • ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก และ (หรือ) ผนังช่องคลอดส่วนบน
    • ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามไปที่ด้านข้างของเชิงกราน และ (หรือ) ผนังช่องคลอดส่วนล่าง หรือกดท่อไตจนเกิดภาวะไตบวมน้ำ
    • ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปที่กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง หรืออวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก และต่อมน้ำเหลืองนอกเชิงกราน เป็นต้น


มะเร็งปากมดลูก รักษาได้ไหม?

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก จะแบ่งออเป็นตามระยะอาการ ดังนี้

ระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะก่อนลุกลาม รักษาได้หลายวิธี ได้แก่

  • การตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจภายใน ตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) และการตรวจด้วยกล้องขยาย (Colposcope) ทุก 4-6 เดือน รอยโรคบางชนิดสามารถหายไปได้เองภายใน 1-2 ปี
  • การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น
  • การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด

ระยะลุกลาม การเลือกวิธีในการรักษาขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้ป่วย และระยะของมะเร็ง

  • ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 บางราย รักษาโดยการตัดมดลูกออกแบบกว้าง ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองเชิงกรานออก
  • ระยะที่ 2 ถึงระยะที่ 4 รักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

มะเร็งปากมดลูก ตรวจ = ป้องกัน

หนึ่งในวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 2-3 ปี สามารถตรวจคัดกรองได้โดย แพปสเมียร์ (Pap Smear) และการตรวจหาเชื้อ HPV

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และจะต้องฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดให้กับเด็กผู้หญิง หรือสตรีที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ และหากเป็นสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อ HPV หรือไม่มีเซลล์ผิดปกติ

ถาม-ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับ “วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV”

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV 9 สายพันธุ์

HPV สาเหตุสำคัญของมะเร็งต่างๆ สามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี ป้องกันมะเร็งที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ได้ถึง 90%

  • วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ (Gardasil) ป้องกันเชื้อเอชพีวีได้มากกว่า 90%
  • Human Papillomavirus 9 – Valent Vaccine ป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ (6/11/16/1/8/31/33/45/52/58)
  • ป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งในช่องปากและลำคอ โรคหูดหงอนไก่ และมะเร็งทวารหนัก
  • ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ในสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
  • ประสิทธิภาพครอบคลุมเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดระยะก่อนเป็นมะเร็ง Precancer, ระยะเป็นมะเร็ง Cancer ได้มากขึ้น
  • ฉีดได้ทั้งชายและหญิง (ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป)


ข้อมูลสุขภาพ ผู้หญิง
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า