เช็กอาการเสี่ยงนิ่วในท่อน้ำดี เป็นแล้วรักษาได้อย่างไร?

นายแพทย์สายพิณ กรณวงศ์

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก


“ผู้ป่วยโรคนิ่วในท่อน้ำดี อาจมีอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เสียดท้อง ซึ่งอาการมักจะมีความคล้ายคลึงกับอาการโรคกระเพาะอาหาร อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความสับสนได้ แต่หากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีฟองมาก ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นอาการของนิ่วอุดตันในท่อน้ำดี”

นิ่วในท่อน้ำดี เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดโรคนิ่วในท่อน้ำดี มากกว่า 90% นั้นมาจากถุงน้ำดี กล่าวคือ ผู้ป่วยจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดีก่อน จากนั้นนิ่วในถุงน้ำดีตกมาที่ท่อน้ำดี ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วในท่อน้ำดีร่วมด้วย

แต่ก็พบผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง จำนวนน้อยกว่า 10% ที่จะพัฒนาเกิดเป็นนิ่วในระบบท่อน้ำดีเอง โดยที่ไม่มีนิ่วในถุงน้ำดี หรือในผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดถุงน้ำดีไปแล้ว แต่ทำไมถึงยังเป็นนิ่วในท่อน้ำดีได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้คือเป็นนิ่วที่เกิดในท่อน้ำดีเองโดยตรง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย อาจจะเกิดจากพันธุกรรม อาหาร หรือว่าน้ำหนัก การรับประทานยาบางอย่าง ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในท่อน้ำดีได้

เช็กอาการเตือนนิ่วในท่อน้ำดี

อาการของนิ่วในท่อน้ำดี มีได้ตั้งแต่อาการน้อยๆ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง หรือเสียดๆ ท้อง อาการมักจะแยกไม่ออกกับอาการของโรคกระเพาะอาหารทั่วไปในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก แต่ในกรณีที่มีการอุดตันของท่อน้ำดี ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง หรือที่เรียกว่า “ดีซ่าน” ปัสสาวะเหลืองเข้มผิดปกติ ปัสสาวะมีฟอง อาการดังกล่าวบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยมีการอุดตันของท่อน้ำดี อาจจะเกิดจากนิ่วในท่อน้ำดี ไปจนถึงอาการที่รุนแรง ทำให้มีการอักเสบของท่อน้ำดี มีการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นภาวะติดเชื้อที่รุนแรง

รีบมาพบแพทย์ด่วน หากมีอาการเหล่านี้!!! อาการที่ควรรีบมาพบแพทย์เลย หากสังเกตว่าตัวเองหรือผู้ป่วยมีอาการตาเหลือง ผิวมีสีเหลืองมากขึ้น ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม มีฟองมากผิดปกติ

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คลิก

การตรวจวินิจฉัยนิ่วในท่อน้ำดี

สำหรับวิธีการตรวจวินิจฉัยนิ่วในท่อน้ำดี เบื้องต้นสามารถตรวจวินิจฉัยด้วยการอัลตราซาวนด์ จะทำให้สามารถเห็นการขยายตัวของท่อน้ำดีที่ใหญ่กว่าขนาดปกติ หรืออาจะเห็นนิ่วในท่อน้ำดีได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจด้วย CT Scan และ MRI (Magnetic Resonance Imaging) จะช่วยให้การวินิจฉัยในการตรวจเจอนิ่วในท่อน้ำดี เป็นไปได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจด้วย MRI หรือ MRCP สามารถตรวจพบนิ่วในท่อน้ำดีได้ 99%

เป็นนิ่วรักษาอย่างไร? นิ่วรักษาได้หรือไม่?

นิ่วในท่อน้ำดี เป็นแล้วรักษาได้

การรักษานิ่วในท่อนำดี ปัจจุบันวิธีการรักษาที่ดีที่สุด คือ การรักษาโดยการส่องกล้อง โดยใช้กล้องส่องเข้าไปทางปากของผู้ป่วย ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งความพิเศษของกล้องนี้คือ สามารถเข้าไปจนถึงส่วนปลายของท่อน้ำดีได้ และจะมีอุปกรณ์สำหรับสอดเข้าไปในท่อน้ำดี เพื่อจะเอานิ่วออกมาจากท่อน้ำดี ในกรณีที่นิ่วมีขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้มีการตัดและขยายปลายท่อน้ำดีให้มีขนาดใหญ่ขึ้น แล้วจึงสามารถเอานิ่วออกมาได้

นอกจากนี้กรณีที่นิ่วมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการสลายนิ่ว โดยทำให้นิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และนำออกมา จะสามารถนำออกมาโดยผ่านปลายท่อน้ำดีออกมาได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ไม่ต้องทำการผ่าตัดให้ยุ่งยาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการผ่าตัดใหญ่

ศูนย์ผ่าตัดโดยการส่องกล้อง โรงพยาบาลศิครินทร์


บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า