การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง ดิจิตอล แมมโมแกรม

การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง ดิจิตอล แมมโมแกรม (Digital Mammography)

     การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง ดิจิตอล แมมโมแกรม (Digital Mammography) เป็นการตรวจเต้านมโดยเครื่อง ดิจิตอล แมมโมแกรม เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ไม่สามารถตรวจพบจากการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยถูกต้องแม่นยำ และลดปริมาณรังสีที่ใช้ สามารถมองเห็นลักษณะความเข้มทึบที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูน หรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมในระยะแรก ก้อนเนื้องอกที่มีขนาดเล็ก วิธีการตรวจ ใช้เวลา 10-15 นาที เพื่อให้ได้ภาพเต้านมข้างละ 2 รูปคือ ท่าตรง และท่าด้านข้างขอบรักแร้ ทั้งนี้เพื่อที่แพทย์จะได้เห็นภาพของเนื้อเยื่อเต้านมอย่างชัดเจน และมีมิติใกล้เคียงความจริงที่สุด ซึ่งหน้าอกจะต้องถูกบีบกด ให้แบนลง ใช้เวลาเพียง 7 – 8 วินาที เพื่อให้เนื้อเยื่อกระจายตัว ทำให้ได้เห็นภาพที่ดีที่สุดของบริเวณที่ต้องการจะตรวจ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ตรวจรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่ไม่เจ็บปวด หรือเป็นอันตรายแต่อย่างใด
 
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง ดิจิตอล แมมโมแกรม  (Digital Mammography)
     เป็นการตรวจเต้านมโดยเครื่อง ดิจิตอล แมมโมแกรม เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการค้นพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ไม่สามารถตรวจพบจากการตรวจร่างกาย การวินิจฉัยถูกต้องแม่นยำ และลดปริมาณรังสีที่ใช้ สามารถมองเห็นลักษณะความเข้มทึบที่ต่างกันของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด เช่น เนื้อเยื่อเต้านม หลอดเลือด ไขมัน หินปูน หรือกลุ่มแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งท่อน้ำนมในระยะแรก ก้อนเนื้องอกที่มีขนาดเล็ก
 
วิธีการตรวจ
     ใช้เวลา 10-15 นาที เพื่อให้ได้ภาพเต้านมข้างละ 2 รูปคือ ท่าตรง และท่าด้านข้างขอบรักแร้ ทั้งนี้เพื่อที่แพทย์จะได้เห็นภาพของเนื้อเยื่อเต้านมอย่างชัดเจน และมีมิติใกล้เคียงความจริงที่สุด   ซึ่งหน้าอกจะต้องถูกบีบกด ให้แบนลง ใช้เวลาเพียง 7 – 8  วินาที เพื่อให้เนื้อเยื่อกระจายตัว ทำให้ได้เห็นภาพที่ดีที่สุดของบริเวณที่ต้องการจะตรวจ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ตรวจรู้สึกไม่สบายเล็กน้อย  แต่ไม่เจ็บปวด หรือเป็นอันตรายแต่อย่างใด
 
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
1. ไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งฝุ่นที่บริเวณหน้าอกและใต้รักแร้เพราะจะมีผลต่อภาพเอกซเรย์
2. ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร
3. เวลาที่เหมาะสมในการตรวจ คือ ช่วงหลังจากหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่บวมน้มาก ทำให้ไม่เจ็บ และเป็นช่วงที่สามารถพบความผิดปกติได้ง่าย
4. กรณีที่เปลี่ยนสถานบริการในตรวจ ควรนำฟิล์มหรือผลการตรวจมาใช้ในการเปรียบเทียบด้วย
 
ใครควรตรวจแมมโมแกรม ? 
 1. ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม 
 2. อายุ 35 ปีขึ้นไปควรทำอย่างน้อย 1 ครั้ง 
 3. ผู้ที่มีอายุ 40-49 ปีควรรับการตรวจทุก 1-2 ปี 
 4. ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรรับการตรวจเป็นประจำทุกปี
 5. ผู้หญิงที่ได้รับยาฮอร์โมนทดแทน
 
“ค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้” 
 
 
โดย : แพทย์หญิงกาญจนา  ลีลาลาวัณย์    รังสีแพทย์โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่
บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า