ปวดท้องแบบนี้ คุณอาจเป็น “แผลในกระเพาะอาหาร”

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือพียูดี (PUD: Peptic Ulcer Disease) คือ โรคที่มีแผลเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น โดยโรคนี้พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย

สาเหตุโรคแผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร? สาเหตุที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) ซึ่งเชื่อว่า อาจติดต่อมาจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ สาเหตุอื่นๆ เช่น กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร เป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร การรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัด ความเครียด เป็นต้น

อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

สังเกตอาการเหล่านี้ หากคุณกำลังปวดท้องแบบนี้ คุณอาจเสี่ยงโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • ปวดแสบ ปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ตำแหน่งระหว่างหน้าอกและสะดือ โดยอาจปวดเมื่อท้องว่างระหว่างมื้ออาหาร ปวดกลางดึก หรือเวลาใดก็ได้
  • ปวดท้องมาก โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด
  • อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • แสบร้อนกลางอก
  • ท้องอืด มีลมในท้อง
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • เบื่ออาหาร
  • อาหารไม่ย่อย
  • น้ำหนักลดลง

การป้องกันโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และดื่มน้ำสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไพโลไร
  • งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS)
  • ไม่เครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองแผลและมีอาการปวดมากขึ้น
  • ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ปริมาณน้อยๆ ไม่ควรรับประทานให้จนอิ่มมากในแต่ละมื้อ

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารทำได้หลายวิธี โดยวิธีการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ โรคแผลในกระเพาะอาหารสามารถมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก ดังนั้น การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้โรคแผลในกระเพาะอาหารกลับมาเป็นซ้ำ

หากมีอาการเสี่ยงหรือสงสัยว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี เพราะโรคนี้ อาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ หากปล่อยไว้เรื้อรัง และไม่รักษาอย่างถูกต้อง

โปรแกรมเหมาจ่ายส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร


ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า