ปวดคอ ปวดแบบไหนอันตราย

ปวดคอ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ อาการปวดคอนั้นมีหลากหลายสาเหตุ เช่น การนอนหมอนสูงเกินไป การนั่งหรือทำกิจกรรมที่มีการเกร็งคอนานๆ ซึ่งอาการนี้จะสามารถหายเองได้ แต่รู้หรือไม่ภาวะปวดคอนั้นมีหลายรูปแบบ และอาการปวดคอ แบบไหนถือว่าอันตราย?!

ปวดคอ อาการยอดฮิตของชาวออฟฟิศ

อาการปวดคอ บริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ เป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตที่พบได้ในผู้ป่วยหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ที่จะต้องนั่งอยู่ในลักษณะท่าเดิมๆ และเป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดคอ

ท่านั่ง ทำปวดหลัง-ปวดไหล่ ไม่รู้ตัว!!

ปวดคอ แบบไหนถือว่าอันตราย?!

  • ปวดคออย่างเดียว​ โดยปวดมาถึงบริเวณบ่าและสะบัก กลุ่มนี้แม้ว่าจะหายจากอาการปวดคอได้ง่าย​ และไม่อันตราย แต่ผู้ป่วยที่มีอาการนี้ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าอาจจะมีภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) หรือหมอนรองกระดูกเสื่อม
  • ปวดเพราะมีการกดทับเส้นประสาท อาการจะปวดร้าวลงแขนไปจนถึงมือ ร่วมกับมีอาการชา ในบางรายอาจมีอาการอ่อนแรง เช่น ยกไหล่ไม่ขึ้น ขยับนิ้ว หรือกระดกข้อมือไม่ขึ้นร่วมด้วย ซึ่งอาการนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
  • ปวดเพราะมีการกดทับไขสันหลัง กลุ่มนี้มีอาการแสดงที่ไม่ชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีประวัติปวดคอเรื้อรัง ร่วมกับปวดลงแขนหรือลงขา หรือมีอาการชาร่วมด้วย ไปจนถึงมีอาการอ่อนแรง ไม่สามารถหยิบจับสิ่งเล็กๆ ได้ เดินเซ สูญเสียการทรงตัว บางรายอาจมีอาการเกี่ยวกับการควบคุมระบบขับถ่าย สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง ที่ให้ความแม่นยำ และความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย

อาการปวดคอที่เป็นอยู่ ใช่กระดูกคอทับเส้นประสาทหรือไม่!!!

นายแพทย์จรูญ จันทร์ดำรงกุล – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมกระดูกสันหลัง
สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลศิครินทร์

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการปวดคอ

  • การยืดกล้ามเนี้อ
  • ไม่นอนหมอนที่สูงเกินไป
  • ไม่เกร็งคอในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ
  • ไม่สะบัดคอแรงๆ
  • จัดโต๊ะ​ทำงานให้เหมาะกับสรีระร่างกายของคนทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม – การป้องกันและท่าบริหารบอกลา Office Syndrome

สัญญาณเตือนอาการออฟฟิศซินโดรม – อาการแบบไหนเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

เราสามารถป้องกันอาการปวดคอได้โดยการปรับเปลี่ยนท่าทางการใช้ชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ การก้มคอใช้โทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ปรับตำแหน่งจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา อาจมีการทานยาลดปวด ลดอาการอักเสบ หรือทำกายภาพบำบัด หากมีอาการปวดอย่างเรื้อรัง หรือปวดจนรบกวนชีวิตประจำวัน ควรเข้าพบแพทย์ก่อนที่อาการจะลุกลาม

ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อันตรายแต่รักษาหายได้

อาการโควิดสายพันธุ์เดลต้า ปวดหัว มีน้ำมูก อาการคล้ายไข้หวัด


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า