ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อันตรายแต่รักษาหายได้

นายแพทย์ธรรมโรจน์ ปุญญ์โชติ
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

“หากคุณมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง … ต้องอ่าน!”

 

ปัจจุบันมีประชากรกว่าร้อยละ 30 ที่มีปัญหาเรื่องอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ สาเหตุมาจากท่านั่งทำงาน ที่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็กๆ ขนาด 0.5-1 ซม. เรียกว่า “Trigger Point” หรือก็คือ จุดกดเจ็บที่ซ่อนอยู่ในกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด    

 

อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

สำหรับผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง สามารถสังเกตอาการได้ว่า จะมีอาการ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลากดแล้วรู้สึกเจ็บ ความรุนแรงของการปวด มีตั้งแต่เริ่มรำคาญไปจนถึงทรมานจนไม่สามารถขยับบริเวณนั้นได้ บางรายอาจมีอาการมือชา เท้าชา และขาชาร่วมด้วย และบางรายอาจมีอาการนอนหลับยาก หรือถึงขั้นนอนไม่หลับ และขั้นที่เลวร้ายอาจลามไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกเลยทีเดียว

 

ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากอะไร

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรังเกิดจาก

  • ท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวต่อเนื่อง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์

  • การออกกำลังกายผิดวิธีหรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อมากเกินไป

  • ขาดการบริหารกล้ามเนื้อและการออกกำลังกาย

 

ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง รักษาหายได้

ปัจจุบันมีวิธีรักษาที่เรียกว่า Trigger Point Therapy” เป็นการรักษาที่ลดอาการปวดที่เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ด้วยการสลายจุด Trigger Point และป้องกันการกลับมาของอาการปวด ใช้เวลาในการรักษาเพียงอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง โดยทำประมาณ 4 – 6 ครั้ง

 

ขั้นตอนในการรักษานั้นมีตั้งแต่ การกินยา การฝังเข็ม การทำกายภาพบำบัด และการฉีดโบท็อกซ์เพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งขึ้นกับความรุนแรงของอาการแต่ละบุคคลที่มากน้อยแตกต่างกันไป แต่ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อทุกๆ คนต้องเข้าใจว่า อาการนี้จะไม่หายขาด เพราะโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วมาจากการทำงาน ทุกคนจึงควรได้รับความรู้ที่ถูกต้องและการดูแลกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี  อาการดังกล่าวก็จะหายไปได้

 

“เพื่อไม่ให้โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังกลับมาเป็นอีก
ผู้ป่วยต้องดูแลและบริหารกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ” 

 

  • ฝึกการเหยียดยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน โยกไปด้านซ้ายและขวา

  • การเหยียดยืดกล้ามเนื้อข้างลำตัวและหลังต้นขา เช่น ประสานมือเข้าด้วยกัน แล้วยืดมือออกไปด้านบน จากนั้นค่อยๆโยกลำตัวไปด้านข้างจนเอวรู้สึกตึง ทำสลับอีกข้าง

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเสี่ยง และหากมีอาการปวดคอ บ่า ไหลเรื้อรัง หรือปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ควรจะเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป”

 

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า