การทดสอบภูมิแพ้

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้  ทั้งแพ้อาหาร จมูกอักเสบจากภูมิแพ้  โรคหืด และผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ  นอกจากการซักถามประวัติ และตรวจร่างกายที่เข้ากันได้กับโรคแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วยการทดสอบภูมิแพ้ ซึ่งมีทั้งการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergy skin test) และการเจาะเลือดส่งตรวจ และหาสารก่อภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้ (Serum Specific IgE)

1.การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง คือ การนำน้ำยาสกัดจากสารภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่น ตัวไรฝุ่น รังแคของสัตว์ แมลงสาบ เกสรหญ้า วัชพืช เชื้อรา เป็นต้น มาทำการทดสอบที่ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อทำให้ทราบว่าแพ้สารใด วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ที่มีความไวและความจำเพาะสูง ทำง่าย และราคาไม่แพง สามารถทราบผลได้ทันที ผู้ป่วยสามารถเห็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง โดยการเลือกว่าจะทำการทดสอบสารภูมิแพ้ชนิดใด จะทำโดยการปรึกษาแพทย์ก่อน และแพทย์อาจนัดมาทำการทดสอบในภายหลัง สามารถใช้ได้กับทุกวัยแม้ในเด็กเล็ก ทราบผลได้ภายในวันนั้น และช่วยวินิจฉัยโรคได้

น้ำยาสารก่อภูมิแพ้ที่ใช้ทดสอบประกอบด้วยสารก่อภูมิแพ้อะไรบ้าง?

น้ำยาที่ใช้ในการทดสอบมีทั้งสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น รังแคของสัตว์ เช่น สุนัข แมว แมลงสาบ เชื้อราชนิดต่าง ๆ เกสรพืช หญ้า และสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นอาหาร เช่น นมวัว ไข่ ถั่ว อาหารทะเล

Skin test การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังทำอย่างไร ?

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ มักใช้วิธี “การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยการสะกิด” (skin prick test) มีขั้นตอนดังนี้

  1. หยดน้ำยาที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังของผู้ป่วย
  2. ใช้เครื่องมือทดสอบ  สะกิดที่ผิวหนังของผู้ป่วย บริเวณท้องแขน สำหรับผู้ใหญ่และเด็กโต หรือที่หลัง สำหรับเด็กเล็กที่ไม่ค่อยร่วมมือ
  3. รออ่านผล 15-20 นาทีหลังทำ หากผู้ป่วยแพ้สารใดก็จะเกิดปฎิกิริยาเป็นตุ่มนูนแดง คัน ในตำแหน่งที่ตรงกับทดสอบสารก่อภูมิแพ้นั้น
  4. หลังการทดสอบ แนะนำให้ผู้ป่วยนั่งพักรอดูอาการ อย่างน้อย 30 นาที หากไม่มีอาการผิดปกติ อย่างอื่นจึงกลับบ้านได้

         อาการบวมบริเวณที่ทดสอบ ยุบได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังจากทดสอบภายใน 24 ชั่วโมง อาจยังมีผื่นแดงได้ ผู้ป่วยควรวัดขนาดผื่นแดง และบันทึกไว้เพื่อให้แพทย์ทราบ ส่วนใหญ่ผื่นนั้นจะค่อยๆ หายไปได้เอง

การเตรียมตัวก่อนการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง

  1. ผู้ป่วยจะต้องงดยาแก้แพ้ (เฉพาะชนิดที่รับประทาน) ก่อนมาทดสอบอย่างน้อย 5-7 วัน
  2. หากใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดหรือรับประทาน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการทดสอบ
  3. ส่วนผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ควรแจ้งชื่อยาให้แพทย์ทราบก่อนทดสอบ เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการทดสอบ
  4. ในวันที่ทำการทดสอบผู้ป่วยไม่ควรมีอาการป่วยหรือเป็นไข้ และควรพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมร่างกาย

ประโยชน์ของการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
1. ทำให้ทราบว่าโรคที่ผู้ป่วยเป็น มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้
2. ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าตนเองแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด และมากน้อยเพียงใด
3. ผู้ป่วยสามารถกำจัด หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้ ทำให้อาการของโรคน้อยลง และลดการเกิดอาการของโรคอื่นขึ้นได้
4. ถ้าหากจำเป็นต้องรักษาโดยการฉีดวัคซีน แพทย์จะใช้ผลการทดสอบภูมิแพ้นี้เป็นข้อมูลในการสั่งวัคซีนภูมิแพ้สำหรับฉีดให้ผู้ป่วยต่อไป

2. การเจาะเลือดส่งตรวจ หาปริมาณสารก่อภูมิต้านทานต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด (Serum Specific IgE)

    ข้อดี

  1. เป็นวิธีที่ไม่เสียงต่ออาการแพ้ทั่วร่างกาย
  2. ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดยาแก้แพ้ก่อนตรวจ
  3. ไม่ต้องใช้เวลานานในการทดสอบ  ผู้ป่วยทำได้สะดวก เจาะเลือดเพียง 1 ครั้ง ก็สามารถหาสารที่ผู้ป่วยแพ้ได้หลายชนิด

   ข้อเสีย

  1. ราคาแพงกว่าการการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
  2. ไม่ทราบผลในทันที ต้องรอผลประมาณ 1 สัปดาห์

           โรคภูมิแพ้  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ก็รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันไม่น้อย หากเราทราบถึงสาเหตุของอาการแพ้  ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้แพ้ และจะช่วยลดอาการจากการแพ้ได้ด้วย 

บทความทางการแพทย์
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า