โรคที่มากับ ‘นกพิราบ’ พาหะอันตราย ร้ายแรงถึงสมอง!

นกพิราบ พาหะนำโรคร้าย? เพราะในมูลนกพิราบ มีเชื้อราที่เรียกว่า ‘Cryptococcus neoformans’ เชื้อคริปโตคอคคัส โดยเชื้อดังกล่าว เป็นที่มาของการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้! โดยสามารถติดเชื้อได้ผ่าน ‘การสัมผัส’ มูลสัตว์ หรือ ‘การหายใจ’ และสูดดมละอองเชื้อราดังกล่าวเข้าสู่ร่างกาย

  • โรคคริปโตคอกโคสิส (Cryptococcosis) 

โรคสมองอักเสบจากเชื้อราคริปโตคอคคัส เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งที่เจริญเติบโตได้ง่ายและพบในมูลนกพิราบ ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติถึง 1,000 เท่า

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

ปกติแล้วโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อโรค เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเราที่มาจากที่อยู่อาศัย สภาวะแวดล้อมไม่สะอาดนัก หรือมาจากพยาธิที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด กึ่งสุกกึ่งดิบ

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค พบว่าเชื้อ Cryptococcus neoformans จากมูลนกพิราบ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สูงถึงร้อยละ 9.09 ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้!

  • โรคปอดอักเสบ

หากหายใจและสูดดมเอาเชื้อราชนิดนี้เข้าไปในปอด ก็อาจทำให้ปอดอักเสบได้ โดยเริ่มจากอาการปอดติดเชื้อก่อน แล้วอาจค่อยๆ ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ ในนกพิราบยังมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “คลามัยเดีย” ที่ทำให้เกิดอาการปอดบวมได้อีกด้วย

สังเกตอาการเสี่ยงติดเชื้อ

หากสูดดมเข้าไปในร่างกายจะทำให้ติดเชื้อที่ปอด ทั้งยังสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น สมอง ได้อีกด้วย ซึ่งจะมีอาการไข้ ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก มีปัญหาทางการมองเห็น มึนงง หากมีการติดเชื้อที่สมองจะมีอาการสับสน และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป และอาจไม่ใช่เฉพาะมีอาการปอดอักเสบ แต่เชื้ออาจลามไปทำลายสมองของเราได้อีกด้วย

หยุดให้อาหารนกพิราบ – วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงติดเชื้อราจากมูลนกพิราบ

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนปกติ ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน โดยควรป้องกันตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อราจากมูลนกพิราบ โดยมีวิธีป้องกันดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสนก การเข้าไปอยู่ในฝูงนกพิราบ หากต้องเข้าใกล้ ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค
  • คนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรเข้าไปใกล้นกพิราบ เพราะอาจได้รับเชื้อในมูลเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ไล่นกพิราบไปไกลๆ ไม่ให้มาอาศัยอยู่ภายในบริเวณบ้าน
  • ทำความสะอาดอาคารเก่า หรือบริเวณที่พบนกเคยอยู่อาศัย และล้างมือหลังจากทำความสะอาดทุกครั้ง
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันเชื้อโรคได้
  • ไม่ให้อาหารนกพิราบ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน


อ้างอิงข้อมูลจาก: ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค, สำนักข่าวไทยพีบีเอส


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า