“สไตรีน” สารอันตรายก่อมะเร็ง

เนื่องจากสถานการณ์โรงงานผลิตเม็ดพลาสติด ย่านกิ่งแก้วถูกไฟไหม้ ส่งผลให้สารสไตรีนโมโนเมอร์ ออกมาปนเปื้อนในอากาศของพื้นที่ใกล้เคียง เมื่อถูกเผาไหม้ สารดังกล่าวจะกลายเป็นสารสไตรีนและสารเบนซิน ซึ่งเป็นสารพิษอันตรายและเป็นสารก่อมะเร็ง

“สไตรีน” สารอันตรายก่อมะเร็ง

เมื่อร่างกายได้รับสารสไตรีนเป็นเวลานานหรือได้รับในปริมาณมากๆ จะส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ ได้ดังนี้

  • อาจทำให้รู้สึกอิดโรย และไม่สบายโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
  • เดินเซ ง่วงซึมและรู้สึกอ่อนเพลีย ร่างกายเสียสมดุล
  • ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา ไอ หายใจลำบาก เมื่อสูดดมเข้าไปค
  • ไอระเหยจากสารสไตรีนจะทำให้รู้สึกระคายเคืองตา ระคายเคืองจมูก และลำคอ
  • เมื่อสัมผัสผิว ทำให้ระคายเคืองผิวและทำให้ผิวหนังอักเสบ
  • เป็นอันตรายต่อตับ ไต ระบบเลือด และระบบประสาท
  • เป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งต่างๆ

ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมละอองเข้าสู่ร่างกาย ในพื้นที่ที่มีไสตรีนเข้มข้นจะมีกลิ่นฉุนเหม็น ให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณนั้น พื้นที่นอกรัศมีจะมีความเข้มข้นของสไตรีนลดต่ำลงมา แต่อย่างไรก็ตาม ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการสูดดมสารก่อมะเร็ง


ปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่ออยู่ในรัศมีของ สารพิษสไตรีน

เหตุการณ์ไฟไหม้สารเคมี บริเวณโรงงานซอยกิ่งแก้ว ทำให้มีสารเคมี “สารพิษสไตรีน” ที่ถูกเผาไหม้ลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม และจะส่งผลในระยะยาว โดยสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้มีคำแนะนำสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง ควรปฏิบัติดังนี้

  • ในระยะนี้ไม่ควรออกกำลังกาย จนกว่าสภาพอากาศจะดีขึ้น
  • หากมีอาการแสบตา จมูก ปาก ให้เข้าไปในบ้านปิดประตู หน้าต่าง
  • หากมีอาการหอบ ไอ เหนื่อย ให้ไปโรงพยาบาลหรือสถานที่ปราศจากหมอกควัน
  • สวมหน้ากากอนามัย เวลาออกนอกอาคารหรือนอกบ้านตลอดเวลา
  • ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด
  • หากสงสัยว่ามีอาการเกิดควันพิษ ให้มาพบแพทย์

กลุ่มอาการสารพิษสไตรีน: ปวด มึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ


ใครบ้างที่ต้องระวัง

  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
  • ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคความดันโลหิตสูงมาก
  • เด็ก ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาบางอย่าง

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการคำนวณค่าความเข้มข้นของสารสไตรีน กรณีเหตุการณ์ไฟไหม้ ณ จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้ Box Model ซึ่งใช้ข้อมูลอัตราการระบายจากแหล่งกำเนิด มาประมวลผลร่วมกับสภาพอุตุนิยมวิทยาของพื้นที่ โดยคำนวณจากรัศมี ใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 กิโลเมตร 3 กิโลเมตร และ 5 กิโลเมตร ซึ่งจากการคำนวณจะได้ค่าความเข้มข้นของสารสไตรีน ดังนี้

รัศมี 1 กิโลเมตร มีค่า 1,035.47 ppm
รัศมี 3 กิโลเมตร มีค่า 86.43 ppm
รัศมี 5 กิโลเมตร มีค่า 51.77 ppm

 ประกาศ เรื่อง ค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลัน กำหนดค่าขีดจำกัดการรับสัมผัสสารเคมีทางการหายใจแบบเฉียบพลันของสารสไตรีนไว้ 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับที่ 1 มีค่า 20 ppm ซึ่งหมายถึงระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน)
  • ระดับที่ 2 มีค่า 130 ppm หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไม่ร้ายแรง
  • ระดับที่ 3 มีค่า 1,100 ppm หมายถึง ระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีในบรรยากาศ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต


ขอบคุณข้อมูลจาก

  • นายแพทย์อดุลย์ บัณฑกุล นายกสมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
  • กรมควบคุมมลพิษ
  • สถานีข่าว TNN

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า