“STROKE FAST TRACK” เพราะทุกนาทีคือชีวิต และเราเข้าใจว่าทุกช่วงชีวิตมีค่าสำหรับคุณ

 

เพราะทุกนาทีคือชีวิต

และเราเข้าใจว่าทุกช่วงชีวิตมีค่าสำหรับคุณ

 

เราจึงพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลัน “Acute Ischemic Stroke Program” ที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสากล โดย JCI Clinical Care Program Certification Standard (CCPC) ให้สามารถดูแลผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพียงแค่โทร 1728 เราพร้อมให้การดูแลเริ่มตั้งแต่การรับผู้ป่วยจากบ้านโดยระบบรถพยาบาลฉุกเฉิน (EMS ) ไปจนผู้ป่วยหายดีและสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

 

"โรคหลอดเลือดสมอง" เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและหลอดเลือด อาจเกิดจากหลอดเลือดตีบอุดตันหรือแตก ทำให้สมองบางส่วนทำงานผิดปกติ สมองเป็นอวัยวะที่ทนต่อการขาดเลือดได้ในเวลาที่จำกัด ดังนั้น การรักษาผู้ป่วยที่สมองขาดเลือด เวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เลือดกลับไปเลี้ยงสมองส่วนที่ขาดเลือดให้เร็วที่สุดการรักษาที่เร็วจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็ว วิธีการรักษาที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันวิธีหนึ่ง ได้แก่ การรักษาด้วยยาฉีดละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เป็นการรักษาที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับได้ผลค่อนข้างดี แต่มีข้อจำกัดด้านเวลาที่ต้องวินิจฉัยโรคและเริ่มให้ยาภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากเกิดอาการ และต้องอยู่ในสถานพยาบาลที่มีความพร้อมที่จะให้การดูแลรักษา มีเครื่องมือสำหรับตรวจวินิจฉัยมีทีมแพทย์ ทีมบุคลากร ที่พร้อมให้การดูแล 

 

โรงพยาบาลศิครินทร์มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลัน ด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมงหรือทำการใส่สายสวนเอาก้อนเลือดที่อุดตันออกจากเส้นเลือดสมอง (Endovascular) ภายใน 6 ชั่วโมง ตามสภาวะอาการของผู้ป่วย ด้วยระบบ Fast Track โดยเริ่มตั้งแต่การรับผู้ป่วยจากบ้าน การนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วยหนัก จนกระทั่งฟื้นฟูสภาพร่างกายและเตรียมความพร้อมก่อนกลับบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังการเจ็บป่วยซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่วงชีวิตที่เราเห็นคุณค่า

 

แนวทางการดูแลผู้ป่วยของ “Stroke Fast Track”

1. พบผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงหน้าเบี้ยวพูดลำบาก ชาครึ่งซีก เดินเซ แขนขาอ่อนแรง เวียนศีรษะปวดศีรษะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน

2. ประเมินอาการโดยใช้ FAST Stroke assessment

F=Faceปากเบี้ยว

A = Arms แขนขาอ่อนแรง

S = Speech ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดลำบาก

T = Time ระยะเวลาเกิดอาการ

ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งให้รีบนำเข้า “Stroke Fast Track”

3. มีอาการภายใน 6 ชม.ประกาศ Code Stroke

3.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียม CT/MRI ,เตรียมยา,เตรียม ICU,เตรียมห้องผ่าตัด

3.2 ส่งผู้ป่วยไปห้องฉุกเฉิน

4. แพทย์ฉุกเฉินตรวจผู้ป่วยใน 5นาที และแพทย์อายุรกรรมระบบประสาทวางแผนการรักษาภายใน 15 นาที

5. แจ้งทางเลือกการรักษา ข้อบ่งชี้ ประโยชน์ ผลเสีย ความเสี่ยงให้ผู้ป่วยและญาติ เพื่อยืนยันและเลือกแนวทางการ

6. ทำการรักษาทันทีตามข้อบ่งชี้

1) ให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากมีอาการ

2) ใส่สายสวนเพื่อเอาลิ่มเลือดออกภายใน 6 ชั่วโมง เมื่อมีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้าม

3) ให้ยารักษาความดัน ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด

4) ผ่าตัดเพื่อลดความดันในสมอง เมื่อมีข้อบ่งชี้

 

“Stroke Fast Track” จึงเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน รวดเร็ว ให้ทันกับเวลาที่มีจำกัดของผู้ป่วยที่จะสามารถให้การรักษาด้วยยาได้ ก่อนที่สมองจะเสียหายจากการขาดเลือด จึงนับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

โปรแกรมการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบอุดตันเฉียบพลัน (Acute Ischemic Stroke Program) ไม่ได้สิ้นสุดแค่ในกระบวนการ Stroke Fast Track แต่ยังมีสิ่งสำคัญที่เราคำนึงถึงคือการป้องกันไม่ให้เกิด Stroke ซ้ำ

 

ระยะฟื้นฟู คือ การเตรียมความพร้อมที่จะให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และระยะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ดังนั้น ผู้ป่วยจะต้องใช้เวลาอยู่ในโปรแกรมเป็นระยะเวลา 90 วัน หลังจากพ้นภาวะวิกฤติแล้วผู้ป่วยแต่ละคนจะมีความพิการหลงเหลือที่มากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของสมองและความรุนแรงของสมองที่เสียหาย ผู้ป่วยบางรายหลังรักษาอาจจะพูดไม่ชัด บางรายร่างกายแขนขาอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตไปข้างใดข้างหนึ่ง บางครั้งอาจจะมีปัญหาการกลืนการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับสิ่งของ ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยทั้งสิ้น ความสำคัญจึงอยู่ที่การดูแลผู้ป่วยด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่ประกอบไปด้วย

  • นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด ที่จะคอยช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายให้ได้มากที่สุด
  • นักกำหนดอาหาร ที่จะช่วยแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับโรค
  • เภสัชกร ที่จะคอยแนะนำการใช้ยา ติดตามความเหมาะสมของการใช้ยาของผู้ป่วยแต่ละราย

 

ด้วยเหตุที่ว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนมากมักมีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย รวมทั้งการใช้ยาสำหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมองเองก็มีจำนวนไม่น้อย นอกจากนั้นยังมี "พยาบาลผู้ประสานงาน" ที่เราจะเรียกกันว่าNurse Coordinator” ที่จะคอยประเมินความต้องการการช่วยเหลือ ประสานงานกับทีมผู้ดูแล ค้นหาปัญหาอุปสรรคต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย คอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา รวมทั้งเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง มีช่วงชีวิตที่มีคุณภาพหลังความเจ็บป่วยให้ได้มากที่สุด

 

การปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิตจึงเป็นอีกกระบวนการสำคัญที่จะต้องช่วยเหลือผู้ป่วย มิฉะนั้นแล้วก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกโดยง่าย ปัจจัยสำคัญของพฤติกรรมที่ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยน ได้แก่ การปรับพฤติกรรมการบริโภค ลดอาหารหวานเค็มมัน ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ควบคุมความดันและระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการ ออกกำลังกาย และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ และได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย

 

 

ดังนั้น  Acute Ischemic Stroke Program จึงไม่ใช่เพียงแค่การรักษาแต่ยังเป็นการก้าวเดินไปพร้อมกันทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและทีมผู้ดูแลรักษา เพื่อเป้าหมายเดียวกันคือการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดของผู้ป่วยและการไม่กลับมาเป็นซ้ำด้วยภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อีก

 

6 ข้อ คำแนะนำสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง

1. ประเมินอาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง

F=Face ปากเบี้ยว

A = Arms แขนขาอ่อนแรง

S = Speech ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด พูดลำบาก

T = Time ระยะเวลาเกิดอาการ

2. เรียกรถพยาบาลหรือรีบนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มีบริการ Stroke Fast Track

3. บอกประวัติอาการและเวลาสุดท้ายที่เห็นว่าผู้ป่วยยังเป็นปกติ ให้แม่นยำ บอกแพทย์ทันที่เมื่อถึงโรงพยาบาล

4. รับทราบข้อมูล ร่วมตัดสินใจ พิจารณาข้อดีข้อเสีย และรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

5. ป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยการปฏิบัติตัวและใช้ยาตามคำแนะนำ

6. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดอาหารหวานมันเค็ม ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ไม่เครียดงดสูบบุหรี่

 

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง 

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์หลอดเลือดสมองและระบบประสาท คลิก 

 

ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า