HIV กับ เอดส์ ต่างกันอย่างไร?

รู้หรือไม่ ติดเชื้อ HIVไม่ใช่เอดส์

HIV คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะยึดจับและทำลายเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 เป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากไม่รับการรักษา ระดับ CD4 ลดต่ำลงเรื่อยๆ จะทำให้ป่วยเป็นเอดส์ได้

AIDS คือ คนที่ติดเชื้อ HIV ที่มีระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ต่ำกว่า 200 ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาวถูกทำลายจนไม่สามารถต้านทานโรค ได้ หรือเรียกว่า “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ร่างกายจึงมีโอกาสติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย

  • ระยะแรก ร่างกายอยู่ในภาวะเริ่มติดเชื้อ ไม่ค่อยแสดงอาการมาก
  • ระยะที่ 2 มีตุ่มขึ้นตามร่างกาย มีเชื้อราในปาก เป็นงูสวัด
  • ระยะที่ 3 เป็นโรคเอดส์ มีการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อราขึ้นสมอง วัณโรค

ระยะที่ 1 และ 2 ของการติดเชื้อ HIV ยังไม่ถือเป็นโรคเอดส์ ส่วนระยะที่ 3 ของการติดเชื้อ HIV เรียกว่าเป็นโรคเอดส์

หากรู้ตัวว่ามีเชื้อ HIV ให้รีบเข้ารับการรักษา และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เพราะ HIV สามารถรักษา และห่างไกลจากโรคเอดส์ได้ ผู้ป่วยสามารถมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป


คุณไม่สามารถติดเชื้อเอชไอวีได้จากพฤติกรรมเหล่านี้

  • กอด การสัมผัส
  • รับประทานอาหาร่วมกัน
  • ไอ หรือจาม
  • แมลง หรือยุงกัด
  • การว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ

เชื้อเอชไอวีติดต่อได้ 3 ช่องทาง คือ ผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ทางเลือด และจากแม่สู่ทารกในครรภ์ ผู้ป่วยเอชไอวี สามารถมีเพศสัมพันธ์และสร้างครอบครัวได้ แต่ต้องมีการป้องกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและการรับเชื้ออื่นๆ ที่แฝงมาด้วย


โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน และเตรียมพร้อมก่อนมีบุตร

การมีครอบครัวที่สมบูรณ์ คือ ความฝันของคู่รักทุกคู่ เตรียมพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตร่วมกัน เช็กความพร้อม…ก่อนร่วมเดินทางไปด้วยกัน

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน เพื่อตรวจเช็กความพร้อมของร่างกายซึ่งกันและกัน เตรียมพร้อมสำหรับการมีบุตร เพื่อจะได้วางแผนการรักษาหรือหาทางป้องกันกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ ช่วยวางแผนในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอันตรายต่างๆ รวมถึงแก้ไขภาวะมีบุตรยากตั้งแต่เนิ่นๆ


ข้อมูลสุขภาพ บทความแนะนำ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า