ALS – โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ภัยเงียบคร่าชีวิต

รู้หรือไม่? ทุกๆ 100,000 คนเป็นโรค ALS หรือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง!

โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการ ในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอันเนื่องมาจากการสำลัก

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis ซึ่งไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง เนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆ เกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ชัดเจน แต่พบว่าเกิดจากหลายเหตุปัจจัย เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ

อายุเฉลี่ยที่เกิดขึ้นของโรคอยู่ระหว่าง 60-65 ปี!!

ดังนั้น โอกาสที่จะพบโรค ALS ในคนอายุมากจึงมีมากกว่าในคนอายุน้อย โดยทั่วไปแล้วมักพบโรค ALS ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า แต่มีโอกาสเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดโรคในรุ่นลูกรุ่นหลาน

อาการของโรค ALS

เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขนขาหรือ เท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้นเหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก นั่งยองๆลุกขึ้นลำบาก เป็นต้น

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงอ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง แต่ในบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแขนหรือขาทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อเต้นที่เรียกว่า fasciculation ร่วมด้วย

ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบหรือขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง หรือลิ้นลีบ เวลากลืนน้ำหรืออาหารแล้วจะสำลัก ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง ทำให้เหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลานอนราบ หรือมีอาการต้องตื่นกลางดึกเพราะมีอาการเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม

เนื่องจากอาการของโรค ALS คล้ายกับโรคอื่น ทำให้ผู้ป่วย ALS ในช่วงต้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคอื่น เช่น มีผู้ป่วยบางรายที่มาด้วยมือลีบอาจได้รับการวินิจฉัยไม่ถูกต้อง เช่น เป็นพังผืดรัดเส้นประสาทที่ข้อมือ (carpal tunnel syndrome) และได้รับการผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรืออาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่คอหรือที่หลัง และได้รับการผ่าตัดไปแล้วพบว่าอาการไม่ดีขึ้น แล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ALS ในภายหลัง

โดยทั่วไปเมื่ออาการของโรค ALS เป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อของแขนขาอ่อนแรงและลีบที่แย่ลงร่วมกับกล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด การกลืนอ่อนแรง จนต้องใช้ท่อให้อาหารทางสายยางผ่านทางจมูกหรือทางหน้าท้อง และกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงอ่อนแรงจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

กล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด

สำหรับวิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะเป็นการรักษาตามอาการและเน้นการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการ ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

ปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สามารถป้องกันได้ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดอาการได้โดย การมีสุขอนามัยทีดี หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ควบคุมความเครียด ไม่ทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากเกินไป


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า