โรคตาบอดสี เป็นอย่างไร? วิธีการทดสอบตาบอดสี

ตาบอดสี ความผิดปกติในการมองเห็นที่ส่งผลโดยตรงต่อชีวิตประจำวัน

ตาบอดสี คืออะไร?

โรคตาบอดสี (Color Blindness) ภาวะพร่องการมองเห็นสี ผู้ที่มีอาการตาบอดสีจะมีการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจนหรือผิดเพี้ยนไปจากผู้มีสายตาปกติ โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ที่เป็นตาบอดสีจะยังคงมองเห็นภาพได้ชัดเจน แต่เห็นสีต่างๆ ผิดจากคนปกติ​ โดยไม่สามารถมองเห็น สีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงินได้ชัดเจน

ตาบอดสี เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ หรือเป็นตาบอดสีมาแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหลักที่พบได้มากที่สุด โดยอาการที่พบบ่อยคือ บอดสีเขียวและสีแดง โดยพบในเพศชาย 7% และในเพศหญิงประมาณ 0.5-1%
  • อายุ อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น
  • โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก
  • โรคอื่นๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน
  • สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บที่บริเวณดวงตาจากอุบัติเหตุ การได้รับสารเคมีเป็นระยะเวลานาน ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค เป็นต้น

ตรวจจอประสาทตา ทำไมต้องตรวจ? ใครบ้างที่ควรตรวจ?


อาการของโรคตาบอดสี

อาการของโรคตาบอดสี จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ระดับน้อย สีภาพที่เห็นอาจไม่เหมือนคนทั่วไป แต่สามารถบอกได้ว่าน่าจะเป็นสีอะไร
  • ระดับปานกลาง ความสามารถในการแยกสีน้อยลง
  • ระดับรุนแรง เห็นทุกอย่างเป็นสีขาวกับดำ ซึ่งระดับนี้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

วิธีการทดสอบตาบอดสี

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจและปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งวิธีวินิจฉัยโรคตาบอดสีมีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันไป ได้แก่ แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates), แบบทดสอบเคมบริดจ์ (Cambridge color test), การทดสอบด้วยเครื่อง Anomaloscope เป็นต้น

ฝึกสมอง! คุณอ่าน “สี” ได้ทั้งหมดกี่คำ ?

แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates) เป็นวิธีการทดสอบที่พบได้มากและได้รับความนิยมมากที่สุด จัดเป็นการตรวจในระดับคัดกรอง (Screening) เพื่อดูว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะตาบอดสีหรือไม่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะได้ดูแผ่นภาพหรือแผ่นกระดาษหลายๆ หน้า โดยจุดสีที่ใช้จะเป็นสีที่คนตาบอดสีมักสับสน ถ้าสามารถอ่านและลากเส้นได้ถูกต้องทั้งหมดก็ถือว่าตาปกติ แต่ในคนตาบอดสีแดงซึ่งจะสับสนระหว่างสีแดงและสีน้ำเงินอมเขียว ถ้ามีตัวเลขสีแดงบนพื้นสีน้ำเงินอมเขียวก็จะทำให้มองไม่เห็นตัวเลขบนแผ่นทดสอบที่ซ่อนอยู่

คุณตาบอดสีหรือไม่ ทดสอบได้!

วิธีการทดสอบตาบอดสีโดยแผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates)

IMAGE SOURCE : thechromologist.com


ตาบอดสีกับผลกระทบในชีวิตประจำวัน

ในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยตาบอดสีอาจมองเห็นสีผิดเพี้ยนไปบ้าง ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจเกี่ยวกับเลือกสีของสิ่งของอยู่บ้าง ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีมีหลายประเภท อาจจะมองไม่เห็นหรือจำแนกสีหนึ่งออกจากอีกสีได้ยาก เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง ทำให้สีที่เห็นผิดเพี้ยนไป หรือในคนที่ตาบอดทุกสีหรือตาบอดสีระดับรุนแรง จะทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นสีขาวดำ ตาบอดสีส่งผลกระทบอย่างไรในแต่ละอาชีพ?

  • วัยเด็ก – วัยเรียน มีผลกระทบต่อเรื่องของการเรียนศิลปะ การประเมินพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการในการเรียนรู้
  • งานที่ผู้ทึ่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเทคโทรนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่าง ๆ
  • ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ หากสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้อย่างถูกต้อง และผ่านเกณฑ์ประเมินอื่นๆ

ตาบอดสีรักษาได้ไหม?

สำหรับผู้ที่เป็นตาบอดสีโดยกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ โดยหากผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นตาบอดสีแต่กรรมพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติ

ในกรณีที่ไม่เป็นตาบอดสีแต่กำเนิด ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดตาบอดสี เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

จักษุแพทย์อาจมีการแนะนำให้ผู้ป่วยตาบอดสี สวมแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ

ผู้ที่เป็นตาบอดสี สามารถทำเลสิคได้ (LASIK) ได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีสภาวะตาปกติทั่วไป แต่การรักษาด้วยวิธีการทำเลสิค เป็นการรักษาอาการสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาโรคตาบอดสีได้

การตรวจิวินิจฉัยโรคตาบอดสี ควรตรวจคัดกรองตาบอดสีตั้งแต่เนิ่นๆ โดยแนะนำที่อายุ 4 บวขครึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะช็อคเมื่อตนเองตาบอดสี ซึ่งจะทำให้เกิดช้อจำกัดต่างๆ ในการดำเนินชีวิต และการพบว่าเป็นโรคตาบอดสีได้เร็ว จะช่วยในการวางแผนการรักษาและวางแผนการใช้ชีวิตได้ดี


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า