เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อย – ตอบคำถามยอดฮิตที่คุณพ่อคุณแม่สงสัย?


“การคลอดธรรมชาติ ลูกน้อยจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพ (Probiotic)
ผ่านทางช่องคลอดของคุณแม่ แต่ทารกที่ผ่าคลอดจะไม่ได้รับจุลินทร์เหล่านี้
ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านภูมิต้านทานได้
จึงมีโอกาสที่ลูกน้อยจะเจ็บป่วยได้มากกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ”

ลูกผ่าคลอด…สร้างภูมิต้านทานได้ด้วยนมแม่

เพราะ … ชีวิตลูกน้อยแรกเกิดคือช่วงโอกาสทองที่จะมอบโภชนาการ และการเลี้ยงดูที่เหมาะสมให้กับลูก สิ่งที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานได้คือ นมแม่ คุณแม่ควรให้ลูกได้รับนมตั้งแต่แรกเกิด และต่อเนื่องยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน  เพื่อช่วยพัฒนาระบบการทำงานของร่างกายทุกด้านของลูกให้มีประสิทธิภาพ

น้ำนมแม่คือแหล่งจุลินทรีย์สร้างภูมิต้านทานลูก

“นมแม่” คือ อาหารที่ดีที่สุดต่อการคืนภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอด เนื่องจาก นมแม่มีพรีไบโอติก (Prebiotic) ที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพหรือเรียกว่า โพรไบโอติก (Probiotic) เมื่อทำงานร่วมกันแบบซินไบโอติก (Synbiotic) จะทำให้จุลินทรีย์สุขภาพเหล่านี้ ทำงานได้ดีและสร้างภูมิต้านทานให้กับลูกที่ผ่าตัดคลอดได้

ซินไบโอติก….ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับลูกน้อย

• พรีไบโอติก (Prebiotic) เป็นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยและดูดซึมในทางเดินอาหารส่วนบน จึงผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์สุขภาพ ช่วยให้จุลินทรีย์สุขภาพเจริญเติบโตได้ดี และยังช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคอีกด้วย การรับประทานอาหารที่มีองค์ประกอบของพรีไบโอติกเป็นวิธีหนึ่งที่คุณแม่จะสามารถช่วยเพิ่มจำนวนโพรไบโอติก

กลุ่มอาหารพรีไบโอติก เช่น หัวหอมใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม ผักกาดม่วง ต้นหอม กะหล่ำปลี เมล็ดธัญพืชบางชนิด กล้วย อะโวคาโด ฝรั่ง แอปเปิ้ล

• โพรไบโอติก (Probiotic) จุลินทรีย์สุขภาพขนาดเล็ก และเป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โพรไบโอติกจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในระบบทางเดินอาหาร ต่อต้านจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้สามารถป้องกันการติดเชื้อต่างๆ รวมถึงช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานดีอีกด้วย

น้ำนมแม่มีการทำงานแบบซินไบโอติก (Synbiotic)

เมื่อพรีไบโอติกทำงานร่วมกับโพรไบโอติกแบบซินไบโอติก (Synbiotic) จุลินทรีย์สุขภาพจึงเจริญเติบโตได้ดี ลดจำนวนจุลินทรีย์ก่อโรคช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานดี เพราะการทำงานร่วมกันแบบซินไบโอติก (Synbiotic) ของพรีไบโอติกและโพรไบโอติกในน้ำนมแม่มีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้

คุณแม่จึงควรให้ลูกน้อยทานนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นให้อาหารตามวัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมควบคู่กับให้นมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปีหรือมากกว่า เพื่อพัฒนาระดับภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้เทียบเท่ากับเด็กที่คลอดธรรมชาติ ลดโอกาสการเจ็บป่วย ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ไม่ท้องผูกหรือท้องเสียง่าย และยังช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคที่เกิดจากภูมิต้านทาน เช่น โรคภูมิแพ้ เป็นต้น


หากพ่อแม่ไม่ได้เป็นภูมิแพ้ แม่ผ่าตัดคลอด ลูกเป็นได้หรือไม่? มีโอกาสเป็นภูมิแพ้ได้ เนื่องจากทารกผ่าตัดคลอด ไม่ได้รับจุลินทรีย์ที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานจากช่องคลอดเหมือนคลอดธรรมชาติ

หากคุณแม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอดจะสามารถสร้างภูมิต้านทานให้ลูกภายหลังคลอดได้หรือไม่และต้องทำอย่างไร? สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดสามารถเสริมภูมิต้านทานให้กับลูกน้อยได้ โดยให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอด และในกรณีที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ อาจจำเป็นต้องใช้นมสูตรพิเศษเพื่อพัฒนาระบบภูมิต้านทานลดการเจ็บป่วยของลูกน้อยให้น้อยลงได้

การผ่าตัดคลอดมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือไม่? การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องไม่มีผลกระทบต่อปริมาณ และคุณภาพสารอาหารของน้ำนมแม่ การสร้างน้ำนมขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายความเจ็บปวดและความเครียดหลังคลอด คุณแม่ควรทำใจให้สบายพร้อมทั้งให้ลูกดูดนมให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และให้ลูกดูดบ่อยๆ อย่างถูกวิธีก็จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้ดี


“นมแม่ คือ โภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย และให้ประโยชน์หลายด้านต่อทารกและมารดา การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างสมดุลของคุณแม่ในช่วงก่อนและขณะให้นมลูกมีความสำคัญ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับนมขวดในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอด อาจทําให้ปริมาณน้ำนมแม่ลดลง การให้นมผสมแก่ทารกอย่างไม่ถูกวิธี การให้อาหารทารกด้วยชนิดหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพลูกน้อยได้ คุณแม่ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเรื่องโภชนาการสำหรับลูกน้อย”


ข้อมูลสุขภาพ แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า