
โรคตากุ้งยิง (Hordeolum) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยมักเกิดบริเวณเปลือกตาด้านบนและเปลือกตาด้านล่าง ทำให้มีอาการเจ็บปวดตรงที่เป็นตุ่มหรือหนอง ซึ่งนอกจากการใช้ยาปฏิชีวนะ การเจาะหนองที่อยู่บริเวณเปลือกตาออกก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้การอักเสบหายได้เร็วขึ้น
ตากุ้งยิงเกิดจากอะไร
ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง ได้แก่
- สัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด
- การใส่คอนแทคเลนส์
- โรคเปลือกตาอักเสบ
- ใช้เครื่องสำอางที่ไม่สะอาดหรือล้างเครื่องสำอางไม่หมด
- เคยมีประวัติเป็นตากุ้งยิงมาก่อน
- ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง เช่น เป็นโรคเบาหวาน

ทำไมถึงต้องเจาะหนองที่เปลือกตา
- เพื่อลดการเกิดความผิดรูปร่างของเปลือกตา (แผลสวยกว่าปล่อยให้แตกเอง)
- เพื่อช่วยให้การอักเสบหายเร็วขึ้น
กรณีที่ไม่พบหนองชัดเจน อาจเริ่มต้นการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะ ทั้งยาหยอดตาและยาป้าย รวมทั้งยารับประทาน แต่หากไม่ยุบแนะนำ เจาะออก
ไม่ยุบแล้วปล่อยเรื้อรังอาจเกิดผลกระทบรุนแรง!
หากหนองไม่ยุบแล้วคนไข้ยังไม่รับการเจาะออก อาจเกิดแผลเป็นลักษณะคล้ายก้อนเนื้องอกที่เปลือกตา (เกิดจากการที่หนองแตกเอง) ซึ่งต้องมาผ่าตัดแก้ภายหลังและทำให้เป็นแผลเป็นตามมา
ขั้นตอนในการเจาะหนอง
- หยอดยาชา 2-3 ครั้ง ที่ตาข้างที่จะทําการเจาะ (เพื่อเตรียมการเจาะหนองภาย ใต้เครื่องมือปลอดเชื้อโรค)
- ฉีดยาชาลงบนผิวเปลือกตา บริเวณใกล้เคียงกับตุ่มหนองอย่างเบามือและเลือกใช้เข็มเบอร์เล็กสุด
- เมื่อแพทย์ทดสอบว่ามีอาการชาเรียบร้อย จึงดำเนินการเจาะเอาหนองออก (โดยวิธีปราศจากเชื้อ)
- หลังจากเจาะหนองเรียบร้อยใส่ยาฆ่าเชื้อและตามด้วยปิดตาแน่น ประมาณ 2 ชั่วโมง (เพื่อหยุดเลือดจากแผล) หากผู้ป่วยขับรถมา อาจปิดตาแน่นเพียง 30 นาที – 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นค่อยเปิดผ้าออกได้ (ต้องไม่มีภาวะเลือดออกง่าย) ถ้าเลือดหยุดไหลแล้วก็สามารถขับรถกลับบ้านได้เอง
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย
ก่อนทำ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
งดยากลุ่มที่ทำให้เลือดออกง่าย เช่นยาละลายลิ่มเลือด กลุ่ม Warfarin โดยงดก่อนทำการเจาะหนอง 7 วัน เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวจะทำให้เกิดความเสี่ยงเลือดออกมากขณะเจาะหนองออก หรือเลือดหยุดช้า
หลังทำ การเจาะหนองที่เปลือกตา ควรดูแลตนเองดังนี้
อาการข้างเคียงที่อาจพบได้
- เปลือกตาอาจเขียวช้ําจากการเจาะ
- เกิดหนองซ้ํา เนื่องจากการไม่รักษาความสะอาดหรือ เชื้อจากหนองดื้อต่อยาฆ่าเชื้อ (เชื้อที่พบแต่ละคนแตกต่างกัน)
- เกิดแผลเป็นบริเวณที่เจาะ (อาจเกิดจากผู้ป่วยมีลักษณะผิวที่มีแนวโน้มเป็นแผลเป็นง่าย และในผู้ป่วยเบาหวาน มักพบว่ามีแนวโน้มแผลหายยากกว่าบุคคลทั่วไป)
- ผิวกระจกตาดําถลอก (เกิดได้น้อยมาก) สาเหตุจากปิดตาไม่สนิท/แน่นพอ หรือ ผู้ป่วยเปิดตาเองก่อนถึง เวลาเปิดแล้วปิดตาซ้ําเอง ทําให้ผ้าปิดตาถูกับกระจก ตาได้ ควรปิดตาตามเวลาที่กําหนด ควรให้เจ้าหน้าที่แผนกตาเป็นผู้ปิดตาให้
- ปวดตาจากแผลที่เจาะ กรณีนี้สามารถทานยาแก้ปวดกลุ่ม Paracetamol ได้ กรณีที่ปวดมากควรกลับมา พบแพทย์
หมายเหตุ กรณีเจาะตากุ้งยิ่งในเด็ก ที่ยังไม่สามารถให้ความร่วมมือ หรือกลัวมาก แนะนําว่าควรดมยาสลบ เพื่อความปลอดภัย (ลดอุบัติการณ์การเกิดเข็มทิ่มตา ขณะฉีดยาชา)