ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ “ เจ็บแน่นหน้าอก” อาจเป็นภัยเงียบของเส้นเลือดหัวใจตีบ พบแพทย์ด่วน ❗

เส้นเลือดหัวใจตีบ

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ  (Coronary artery disease: CAD หรือ Coronary heart disease: CHD)  อีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง ในตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผู้ป่วยบางรายมักไม่ปรากฏอาการ   

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คืออะไร?  อันตรายมากแค่ไหน  

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบนี้  เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังเส้นเลือดหัวใจหนาขึ้น  จนทำให้เกิดการตีบ  ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ  เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต  ในปัจจุบันนั้นพบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าผู้หญิง 3-5 เท่า โดยเฉพาะผู้ชายในอายุ 35 ปีขึ้นไป  และในผู้หญิงที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป  

จริงหรือไม่ ? ที่โรคนี้มีโอกาสเกิดในกลุ่มผู้ที่อายุน้อ

ในสมัยก่อน  หากกล่าวว่าโรคนี้สามารถพบเจอในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก ก็อาจเป็นเพราะโรคนี้มักจะมาพร้อมความเสี่ยงเมื่ออายุมากขึ้น    แต่ในปัจจุบันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบกลับพบในกลุ่มคนที่ยังมีอายุน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   เพราะแนวการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ความเครียดจากปัญหาในชีวิต  หรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากขึ้น  ดังนั้นกลุ่มคนอายุน้อยที่มีความเสี่ยงอาจจะเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ เช่น

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • พันธุกรรม
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา
  • รับประทานอาหารไขมันสูง
  • อ้วนลงพุง และขาดการออกกำลังกาย

5 สัญญาณโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ  มีอะไรบ้าง ?

  • เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลาง หายใจหอบ
  • ปวดร้าวบริเวณแขน คอ และไหล่
  • เหงื่อออกท่วมตัว กระสับกระส่าย
  • คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น
  • มักมีอาการเมื่อออกกำลังกายหนัก / ทำงานหนัก
สัญญาณเตือนเส้นเลือดหัวใจตีบ

หากต้องการรับรักษา  การผ่าตัดอาจไม่ใช่ทางเลือกเดียว ที่เหมาะกับการรักษาโรคนี้  ?

เพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยในการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบหลากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น รักษาด้วยยา สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดตีบตันบางส่วน    การทำบอลลูนหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่หลอดเลือดตีบตันมาก หรือการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำบอลลูนหัวใจได้ 

อาหารแบบไหนที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

ควรเป็นอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย และรสชาติไม่จัดมาก รวมไปถึงควรเลือกบริโภคอาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารกลุ่มธัญพืช ผัก และอาหารประเภทกากใย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานและเค็มจัด

ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า