โรคซนสมาธิสั้นในวัยเด็ก (ADHD) เกิดจากความผิดปกติในการของสมองบางส่วน ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี ทำให้เด็กซน อยู่ไม่นิ่ง ส่งผลกระทบทั้งในด้านพฤติกรรม อารมณ์ การเรียนรู้ การใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น
ปัญหาที่สำคัญต่อการเรียนรู้ และการใช้ชีวิตประจำวัน หากมีการจัดการด้วยแนวทางหรือวิธีการที่ถูกต้อง จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพและเหมาะสมตามวัย
โรคซนสมาธิสั้น (ADHD) เกิดจากความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากระดับสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิไม่สมดุล ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี แม้ว่าเด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม
จากผลการศึกษา ส่วนใหญ่พบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ ถึง 4 เท่า
นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่า การที่พ่อแม่ติดเหล้า ติดบุหรี่ ติดสารเสพติด หรือป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ก็เชื่อว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคซนสมาธิสั้นได้เช่นกัน

เช็กอาการ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน?
สำหรับเด็กๆ ที่มีอาการของโรคซนสมาธิสั้น จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุและระดับพัฒนาการ โดยมักมีอาการแสดงก่อนช่วงอายุ 7 ปี และมีอาการแสดงอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยแบ่งอาการออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
① สมาธิสั้น (Inattention)
- ยากลำบากในการตั้งสมาธิ วอกแวกง่าย
- ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย
- ทำตามคำสั่ง/กิจกรรมไม่สำเร็จ
- หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม
- ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ
- มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม
- ทำของหายบ่อยๆ
- ลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ
② ซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)
- ยุกยิกขยับตัวไปมา อยู่นิ่งไม่ได้
- ซนมากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
- นั่งไม่ติดที่ ต้องลุกเดินไปมา
- มักวิ่งวุ่นหรือปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
- ไม่สามารถเล่นเงียบๆ ได้
- พูดมากเกินไป
③ หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)
- ไม่สามารถรอคอยได้
- ชอบพูดโพล่ง ขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่นในวงสนทนา
ดูแลเด็กสมาธิสั้น พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?