ดูแลเด็กสมาธิสั้น พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?

“ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย ซนไม่อยู่นิ่ง รอคอยไม่ได้ ชอบพูดโพล่ง”ลูกของคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่? เช็กอาการ ลูกเป็น โรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน?

ดูแลเด็กสมาธิสั้น พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?

แนวทางในการดูแลเด็กสมาธิสั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว คุณครู รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์

พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ

อันดับแรกในการดูแลเด็กสมาธิสั้น คือ ครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ และบุคคลภายในครอบครัว จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค และแนวทางในการช่วยเหลือ ดูแลอย่างเหมาะสม มีทัศนคติเชิงบวกต่อเด็ก โดยควรมองว่า เป็นความบกพร่องที่ต้องช่วยกันแก้ไข แทนที่จะมองว่าเด็กขี้เกียจ ไม่สนใจในการเรียน

ปรับพฤติกรรม จุดเริ่มต้นรักษาเด็กสมาธิสั้น

การชมเชยหรือให้รางวัล เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมรวมถึงการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการตัดสิทธิ์ หรืองดกิจกรรมที่เด็กชอบ จะช่วยลดอุปสรรค ในการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กสามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ได้นานขึ้น รู้จักการตั้งใจฟังคำสั่งที่มอบหมายให้ทำ และรู้จักการรอคอย

ครู คือผู้ช่วยสำคัญ

การช่วยเหลือในด้านการเรียนรู้ การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งมากระตุ้นมากเกินไป โดยควรนั่งเรียนด้านหน้า ไม่ควรนั่งใกล้ประตูหรือหน้าต่าง เมื่อเด็กเริ่มเบื่อให้ลุกเดินบ้าง เช่น เข้าห้องน้ำ ลบกระดาน เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนที่เหมาะสมกับเด็ก ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ โดยห้องเรียนควรค่อนข้างสงบ ไม่สับสนวุ่นวาย ไม่มีสิ่งกระตุ้นมาก มีระเบียบกำหนดกิจกรรมที่เด็กจะทำอย่างชัดเจนและเป็นขั้นตอน

การรักษาโดยการใช้ยา

ปัจจุบัน การใช้ยาสามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิสงบ และควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การเรียนรู้ และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้นตามไปด้วย

เช็กอาการ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน

โรคซนสมาธิสั้น (ADHD) เกิดจากความผิดปกติในการของสมองบางส่วน ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี ทำให้เด็กซน อยู่ไม่นิ่ง ส่งผลกระทบทั้งในด้านพฤติกรรม อารมณ์ การเรียนรู้ การใช้ชีวิตประจำวัน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น

วิธีการรับมือเด็กสมาธิสั้น

  • ปรับพฤติกรรม ค่อยๆ ฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอย การอดทน
  • การให้คำชม ให้รางวัล เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
  • จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่มีสิ่งกระตุ้นมากเกินไป สถานที่เรียนต้องค่อนข้างสงบ ไม่สับสนวุ่นวาย
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของโรค เพื่อรับมือดูแลอย่างเหมาะสม
  • หมั่นทำกิจกรรมกับสิ่งที่ลูกชอบบ่อยๆ สม่ำเสมอ
  • การรักษาโดยการใช้ยา ช่วยให้เด็กมีสมาธิ ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น
  • ฝึกฝนการมีวินัยให้กับเด็ก มีระเบียบกำหนดกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอน

ข้อมูลสุขภาพ แม่และเด็ก
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า