อาหารไม่ย่อย สัญญาณเตือนปัญหาระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย ใครว่าไม่อันตราย!

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการปวดท้องบริเวณช่วงบน ร่วมกับมีอาการท้องอืด จุกเสียดแน่นท้อง จุกลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว โดยมักมีอาการในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร ซึ่งอาการอาหารไม่ย่อยนี้ พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ อาการมักจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่รู้หรือไม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย อาจเป็นเพราะมีพฤติกรรมเหล่านี้

อาหารไม่ย่อยเกิดจากอะไร? อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่ามีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการกิน และลักษณะการดำเนินชีวิต รวมไปถึงอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาบางชนิด ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ

  • เคี้ยวอาหารไม่ละเอียดก่อนกลืน รับประทานเร็ว รับประทานเยอะ
  • ชอบรับประทานอาหารมันๆ อาหารรสเผ็ดจัด
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม มากเกินไป
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
  • รับประทานยาบางชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหาร เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ อาหารเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • มีแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน
  • มีภาวะเครียดหนัก ภาวะวิตกกังวล
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ

อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเสี่ยงเป็น “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นภัยเงียบของสุขภาพที่หลายคนมองข้าม และกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็มีอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายแล้ว โดยอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

หากคุณมีอาการอาหารไม่ย่อยเป็นประจำ แน่นท้อง ปวดท้องหลังรับประทานอาหาร จุกที่ลิ้นปี่ แสบร้อนบริเวณหน้าอก ร่วมกับ อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพราะหากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงขึ้น

โปรแกรมเหมาจ่ายส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร

อาหารไม่ย่อย ทำไงดีวิธีป้องกันรับมือกับอาหารไม่ย่อย

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน โดยรับประทานให้ตรงเวลา ไม่รับประทานทีละมากๆ หรือรีบกินจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ไขมันสูง และอาหารย่อยยาก
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม
  • ไม่เครียดหรือวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา หลีกเลี่ยงการรับใช้กลุ่มยาแก้ปวด หรือยาที่อาจมีผลต่อระบบย่อยอาหารอื่นๆ

ข้อมูลสุขภาพ โรคที่พบบ่อย
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า