จู่ๆ ก็ใจสั่น 7 สาเหตุของอาการใจสั่น

อาการใจสั่น เกิดจากการที่หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ อาจเต้นเบาเกินไป หรือแรงเกินไป เต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกายหนักเกิน มีความเครียด หรือแม้กระทั่งผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรืออาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคได้ สาเหตุของอาการใจสั่น เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  • การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้หัวใจของคุณจะเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจสั่นที่ทำให้เรารู้สึกได้

  • การรับประทานยาบางชนิด

ยาบางชนิดทำให้เกิดอาการใจสั่นได้เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความดัน เป็นต้น ซึ่งหากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้ใจสั่นได้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

หากมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ร่างกายอาจมีอาการ มือสั่น เหงื่อออก หน้ามืด ใจหวิวๆ เหมือนใจสั่นได้

ทั้งสองปัจจัยนี้ มีผลเร่งการเต้นของหัวใจหลั่งออกมา เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะเผชิญความกลัว แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายก็ตาม ส่งผลให้เกิดอาการ ใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก สั่น หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกได้ โดยอาการนี้จะมีอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็นโรคใด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

ระวัง! เครียดมาก เสี่ยงเป็นหลายโรค

  • ได้รับคาเฟอีนมากเกิน

เพราะคาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจทำให้ใจสั่นได้ นอกจากกาแฟแล้ว คาเฟอีนยังพบจากอาหารหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ได้อีก เช่น ชา ช็อกโกแลต โซดา เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เป็นต้น

  • มีไข้ ติดเชื้อ

การมีไข้มากกว่า 37.8°C เป็นหนึ่งในสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อคุณป่วย ทำให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้หัวใจสูบฉีดแรงและเร็วขึ้นได้

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ Arrhythmia ภาวะที่หัวใจเต้นไม่ปกติ อาจเร็วไปหรือช้าไป โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด มีความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น ส่งผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีอาการใจสั่น เนื่องจากหัวใจเต้นเร็วเกินไป

หากมีอาการใจสั่นบ่อยๆอาจเกิดได้จากสาเหตุข้างต้น แต่หากสงสัยว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

คุณเป็นโรคหัวใจหรือไม่? โรคหัวใจตรวจด้วยวิธีใดได้บ้าง

โรคหัวใจมีกี่ชนิด ? อาการแบบนี้ เสี่ยงชนิดไหน!


ข้อมูลสุขภาพ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า