เมื่อเป็น “เบาหวาน” – ดูแลตนเองอย่างไร กินอะไรได้บ้าง

เบาหวานรักษาหายได้ไหม?

หากพบว่าตนเองป่วยเป็นโรคเบาหวาน การดูแลตนเอง และการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษา และควบคุมโรค ให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว อาการผิดปกติบางอย่างยังไม่ปรากฏอาการในทันทีทันใด แต่หากมีอาการผิดปกติแล้วอาจจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาหายเป็นปกติได้ การควบคุมเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ และการติดตามอาการของภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติควบคู่กับการใช้ยาควบคุมเบาหวาน ดังนั้นหลังจากที่ทราบว่าเป็นเบาหวานควรปฏิบัติ ดังนี้

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

  • ควบคุมอาหารที่รับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด โดยมีหลักง่ายๆ ต้องรับประทานอาหารที่ มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ และรับประทานให้ได้วันละ 3 มื้อ รับประทานตรงเวลา ไม่งดมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานในปริมาณที่ใกล้เคียงกันทุกมื้อทุกวัน ไม่กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลา ในแต่ละมื้อ ควรรับประทานอาหารที่มีทั้งแป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน และผักผลไม้ หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมหาน ผลไม้เชื่อมแช่อิ่ม ผลไม้ที่มีรสหวาน ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ไขมัน สัตว์ เนย มันหมู เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ไข่แดง ครีม กะทิ อาหารทอด
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือถ้าน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักตัวลง 5% ของน้ำหนักเดิม
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ รวมทั้งยาดองเหล้า หรือจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะแอลกอฮอล์อาจมีผลต่อยาที่ใช้ควบคุมเบาหวานและโรคต่างๆ
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ให้ได้สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที
  • ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • หมั่นดูแลรักษาเท้าให้ดี โดยทำความสะอาดเท้าและดูแลผิวหนังทุกวัน เวลาอาบน้ำควรล้าง และฟอกสบู่ตามซอกนิ้วเท้า ตัดเล็บด้วยความระมัดระวังไม่ให้เกิดเล็บขบ หลีกเลี่ยงการตัด ดึง หรือแกะหนังแข็งๆ หรือตาปลาที่ฝ่าเท้า ถ้ารู้สึกว่าเท้าชา ห้ามวางขวดหรือกระเป๋าน้ำร้อย หรือประคบด้วยของร้อน ถ้ามีบาดแผล ตุ่มหนอง หรือการอักเสบเกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ – โรคเบาหวานกับการดูแลเท้า
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีละ 1 ครั้ง และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบในผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ควบคุมความดันโลหิต ไม่ให้สูงเกิน 140/90 มม.ปรอท และหากเป็นความดันโลหิตสูงแล้ว ต้องรับประทานยาลดความดันตามแพทย์สั่งห้ามหยุดใช้ยาเอง
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด ให้ระดับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ต่ำกว่า 100 มก./ดล. และควรใช้ยาลดไขมันทุกราย ในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • เรียนรู้การปฏิบัติตัวในโอกาสพิเศษต่างๆ เช่น การเดินทาง การไปงานเลี้ยง
  • เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น และจำเป็นต้องตรวจคัดกรองภาวะภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อตรวจติดตามน้ำตาลในเลือด ใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรปรับหรือลดขนาดยาเองตามความรู้สึก ห้ามซื้อยาชุดมารับประทานเอง การใช้สมุนไพรควร พิจารณาร่วมกันกับแพทย์ผู้รักษา

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

คนเป็นเบาหวาน กินอะไรได้บ้าง – คุมอาหารอย่างไรดี?

  • ควบคุมระดับน้ำตาล ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการหยุดเติมน้ำตาลลงในอาหาร พยายามงดอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ลูกอม ขนมหวาน น้ำหวาน และไม่ควรรับประทานน้ำตาลทุกชนิด เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง

ผลไม้แม้จะมีใยอาหารมาก แต่ผลไม้บางชนิด ก็มีน้ำตาลสูงเช่นเดียวกัน โดยการรับประทานผลไม้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจำกัดขนาด และควรกินในปริมาณที่เหมาะสม

ผลไม้ที่ไม่ควรรับประทาน เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย ลิ้นจี่ องุ่น ละมุด น้อยหน่า แตงโม ขนุน เป็นต้น
ผลไม้ที่ควรรับประทาน เช่น แก้วมังกร แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่ มันแกว

อาการน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวาน หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)

ในผู้ป่วยเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน จนมีปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลสูงขึ้นได้ง่าย เนื่องจากร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ

สังเกตอาการเหล่านี้บ่งบอกว่า “คุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ปัสสาวะบ่อย
หิวน้ำบ่อย กระหายน้ำมาก
น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
สายตาพร่ามัว
รู้สึกหิวบ่อย แม้ว่าจะเพิ่งกินไป
ขาชา ผิวแห้ง คันตามตัว

  • ควบคุมไขมัน เลือกรับประทานพวกไขมันดี หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารจากทอดเป็นตุ๋น ต้ม นึ่ง แทน รวมถึงใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าวในการปรุงอาหารแทน
  • ควบคุมคาร์ไฮเดรต แม้คาร์โบไฮเดตรจะมีหน้าที่ให้พลังงาน แต่หากรับประทานมากก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ดังนั้น ควรเลือกคาร์โบไฮเดรตที่มาในรูปแบบธรรมชาติ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ลูกเดือย ขนมปังโฮลวีท
  • ควบคุมโปรตีน ควรบริโภคโปรตีนประมาณ 12 – 20 ของจำนวนการบริโภคแคลอรีทั้งหมดต่อวัน ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์จำพวกปลา และผลิตภัณฑ์จากนมแบบไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน
  • ควบคุมโซเดียม ควรลดปริมาณการบริโภคเกลือในมื้ออาหาร ไม่เติมเกลือ หรือน้ำปลาเพิ่มในอาหาร และไม่ควรรับประทานอาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง ผักดอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

ข้อมูลสุขภาพ สูงอายุ
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า