ช็อคโกแลตซีสต์..ผู้หญิงเสี่ยงทุกคน

ช็อกโกแลคซีสต์ คืออะไร?

จริงๆ แล้วช็อกโกแลตซีสต์เป็นคำเรียกง่ายๆ ของ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือถุงน้ำช็อกโกแล็ต  เป็นอาการผิดปกติที่เซลล์เจริญเติบโตผิดที่ นานวันเข้าเซลล์นั้นใหญ่ขึ้น เลือดประจำเดือนไหลไปตกค้างอยู่ในนั้น จนกลายเป็นซีสต์ เราจึงเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นช็อกโกแล็ตซีสต์

ผู้หญิงทุกวัยที่มีประจำเดือน ทุกคนเริ่มมีความเสี่ยงต่อโรคช็อกโกแล็ตซีสต์ ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือน ไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน เพราะเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศหญิง

อาการของช็อกโกแลตซีสต์

โดยมากแล้ว ช็อกโกแลตจะเกิดขึ้นบริเวณมดลูก หรือรังไข่ภายนอก ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าเมื่อก้อนซีสต์มีอาการอักเสบ อาจจะปวดท้องได้ทั้งด้านซ้าย หรือด้านขวา หรือกลางท้องในกรณีที่มีก้อนซีสต์บริเวณมดลูก แต่ข้อสังเกตคือ บริเวณที่ปวดจะอยู่ในช่วงท้องด้านล่าง ต่ำกว่าสะดือ เหนือขาหนีบ และคนที่ปวดท้องมากในช่วงมีประจำเดือน ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน หากปวดมากต้องได้รับการผ่าตัด หากปวดๆ หายๆ อาจเป็นซีสต์ธรรมดาที่ไม่ใช่ช็อกโกแลตซีสต์

เราอาจไม่มีทางทราบได้เลยว่ากำลังมีช็อกโกแล็ตซีสต์อยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งจะทราบก็ต่อเมื่อก้อนซีสต์เกิดอาการอักเสบ ปวดท้องอย่างรุนแรง จนอาจต้องผ่าตัดด่วน  ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจร่างกาย การตรวจภายใน อัลตร้าซาวนด์ หรือการส่องกล้อง หากตรวจร่างกายพบก่อน แล้วก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่ หรือมีหลายก้อน แพทย์อาจพิจารณานัดผ่าตัดก่อนที่จะมีอาการปวดท้องเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ผลร้ายที่เกิดขึ้น หลังพบช็อกโกแลตซีสต์

นอกจากจะต้องทรมานกับอาการปวดท้องมากๆ ช่วงที่มีประจำเดือนแล้ว ด้วยพังผืดที่เกาะมดลูกหรือรังไข่ และขนาดของก้อนซีสต์ที่เข้าไปเบียดรังไข่ และท่อรังไข่จนคดงอ อาจทำให้การผลิตไข่ไม่ได้คุณภาพ ไข่กับอสุจิที่ผสมกันได้แล้วอาจฝังตัวไม่สะดวก เป็นเหตุให้มีโอกาสที่จะมีบุตรยากนั่นเอง และหากก้อนซีสต์ใหญ่ขึ้น และอยู่ไกล้ตำแหน่งอวัยวะสำคัญอื่นๆ เช่น ไต อาจทำให้ไตวายได้เช่นกัน

 

ช็อกโกแล็คซีสต์ รักษาอย่างไร?

โดยทั่วไปแล้ว หากพบก้อนซีสต์ที่มีอันตรายน้อย ขนาดเล็ก อาจให้การรักษาด้วยยา ที่จะคล้ายกับวิธีการคุมกำเนิด เพื่อยังยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิงไปก่อน อาจจะให้ทานยาคุม หรือฉีดยาคุมกำเนิด อาจมีความเป็นไปได้ที่ก้อนซีสต์จะยุบลงได้

อีกวิธีหนึ่ง คือ การผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และการส่องกล้อง ที่จะทำให้ผู้ป่วยมีบาดแผลเล็กกว่า สูญเสียเลือดน้อยกว่า ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วกว่า แต่ค่ารักษาก็จะแพงกว่าด้วย แต่ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับพิจารณาของแพทย์ว่าผู้ป่วยท่านนั้นเหมาะที่จะผ่าตัดด้วยวิธีไหนถึงจะเห็นผลดีที่สุด

วิธีการป้องกันช็อกโกแล็ตซีสต์ที่ดีที่สุด คือการสังเกตตัวเองว่าปวดท้องบ่อยหรือไม่ ปวดประจำเดือนมากผิดปกติหรือเปล่า และควรเข้ารับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงในภายหลังได้

 

ผู้หญิง
โทรหาเรา 1728 นัดหมายแพทย์ นัดหมายแพทย์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า